กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3071-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 29,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามีเนาะ ยีเจ๊ะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2568 30 ก.ย. 2568 29,450.00
รวมงบประมาณ 29,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งประเทศไทยมีการส่งเสริมการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดดังนี้ โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก โรคไอกรน โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคโปลิโอ โรคติดเชื้อไวรัสโรต้า โรคไข้สมองอักเสบ โรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยาพบว่า ปี 2567 พบผู้ป่วยโรคหัดและไอกรน ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนในภาคใต้ของประเทศไทยและเริ่มมีการรายงานเป็นกลุ่มก้อนในบางจังหวัด โดยแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงปัจจุบัน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 90.76 ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่ทราบประวัติวัคซีน อัตราป่วยด้วยที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงสุดได้แก่ โรคหัดในกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุด 28.64 ต่อแสนประชากร มีการรายงานผู้ป่วยยืนยันหัดใน 17 จังหวัด โดยจังหวัดปัตตานีมีอัตราป่วยสูงสุด 94.16 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 3 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 90.76 ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจในการรับวัคซีน และไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน จังหวัดที่มีการระบาดสูงสุดพบมีความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ MMR1 ร้อยละ 46.44 และ MMR2 ร้อยละ 38.98 นอกจากนี้จากการทบทวนข้อมูลความครอบคลุมของวัคซีนหัด หัดเยอรมัน และคางทูม (MMR) จากฐานข้อมูลHDC พบว่าประเทศไทยมีจังหวัดที่มีความครอบคลุมของวัคซีน MMR2 ยังไม่ได้ตามเกณฑ์
ตำบลลิปะสะโง พบรายงานการป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในปี 2567 ได้แก่ โรคหัด มีจำนวนผู้ป่วย 20 ราย คิดเป็น 6.05 ต่อพันประชากร รองลงมาพบผู้ป่วยด้วนโรคไอกรน จำนวน 8 ราย คิดเป็น 2.42 ต่อพันประชากร จากอัตราการได้วัคซีนในพื้นที่มีความครอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์ส่งผลให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบโรคอื่นๆประปราย เช่น ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้โรคต่างๆ ดังกล่าวเป็นโรคระบาดที่ส่งกระทบและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ในรอบปี 2567 ที่ผ่านมาพบว่าในกลุ่มเด็ก 0-5 ปีมีเด็กทั้งสิ้นจำนวน 208 คน เด็กที่อายุครบ 1 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 68.00 เด็กที่อายุครบ 2 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 53.33  เด็กที่อายุครบ 3 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 43.90 และเด็กที่อายุครบ 5 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ50.00 จะเห็นได้ว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนยังต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดร้อยละ 90 โดยสาเหตุเกิดจากการหลายปัจจัย ทั้งผู้ปกครองขาดความรู้ ทัศนคติในทางลบเกี่ยวกับวัคซีน และความเชื่อทางศาสนา สภาพสังคมเปลี่ยนไปผู้ปกครองฝากเด็กกับผู้สูงอายุ ทำให้ไม่มีใครพามาฉีดวัคซีนเด็กป่วยบ่อยทำให้การได้รับวัคซีนล่าช้าซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
จากข้อมูลข้างต้นเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมดกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี จะต้องผ่านเกณฑ์การได้รับวัคซีนร้อยละ90 ซึ่งตำบลลิปะสะโง ได้จัดกลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5 ปี จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มฉีดปกติ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มปฏิเสธ สำหรับกลุ่มบ่ายเบี่ยงและกลุ่มปฏิเสธ ต้องรีบดำเนินการหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหา พื้นที่ตำบลลิปะสะโง อาจมีแนวโน้มของการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นทางรพ.สต.ลิปะสะโง ได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคระบาดในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายที่บ่ายเบี่ยงและฉีดล่าช้า 75 14,000.00 -
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 20 คน x 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 0 3,000.00 -
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการวัคซีนตามนัดและติดตามอาการหลังฉีดวัคซีน 75 7,500.00 -
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ประชุมชี้แจงกิจกรรมโครงการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำชุมชน 42 4,200.00 -
6 ก.พ. 68 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 750.00 -
รวม 192 29,450.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ผู้ปกครองเด็กกลุ่มบ่ายเบี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2.ร้อยละ 70 เด็ก 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ 3.ร้อยละ 2 ของผู้ปกครองที่ปฏิเสธเปลี่ยนความทัศนคติในการพาบุตรมารับวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 13:35 น.