กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้ทันพิษภัยของบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า
รหัสโครงการ 68-L5273-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2568
งบประมาณ 22,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นิยมเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2568 31 ส.ค. 2568 22,100.00
รวมงบประมาณ 22,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทุกด้านตั้งแต่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนซึ่งจะชักนำไปสู่การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของวัยรุ่นมีพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อที่ผิด การขาดความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ และอีกทั้งวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยากรู้อยากลอง ต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนด้วยกัน หากกลุ่มที่ตนเองอยู่ร่วมเป็นกลุ่มที่มี ที่เบี่ยงเบน มีพฤติกรรมเสี่ยงด้วยแล้ว โอกาสที่จะทำให้วัยรุ่นเสพติดสิ่งที่ไม่ดีก็มีมากขึ้น การเปิดโอกาสให้วัยรุ่นเป็นคนตัดสินใจและหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับตนเอง มีความรู้และทักษะในการปฏิเสธ เจรจาต่อรองโดยทางเลือกทางใหม่ที่ดีกว่า จะเป็นทักษะที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในเชิงยับยั้งพฤติกรรมเสี่ยงได้ ในปี 2567 รพ.สต.ฉลุง ได้ทำการสำรวจ เยาวชนในระดับโรงเรียนในพื้นที่ตำบลฉลุง พบว่าข้อมูลร้อยละ 70 รู้จักและเคยทดลองใช้บุหรี่ไฟฟ้า ประกอบกับปัจจุบันเด็กและเยาวชน อยู่ในยุคเทคโนโลยีที่เฟื่องฟู สามารถค้นหาความรู้ได้เอง  แต่ในขณะเดียวกันการใช้เทคโนโลยีก็ยังมีความน่าเป็นห่วง ในทุก ๆ เรื่องจะี 2 ด้านเสมอ การให้ความรู้ในการป้องกันตนเองให้แก่เด็กและเยาวชน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อในสังคม การให้ความรู้้แก่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครอง และแกนนำสุขภาพ ให้รู้เท่าทันกลยุทธ์การตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า จึงเป็นเรื่องที่ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ครอบครัว ชุมชนเข้มแข็ง สามารถรับมือกับพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า รพ.สต.ฉลุง จึงได้จัดทำโครงการ เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้ทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และมีทักษะการป้องกันตนเอง รู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ตกเป็นเหยื่อในสังคมโลกออนไลน์

เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และมีทักษะการป้องกันตนเอง รู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าไม่ตกเป็นเหยื่อ ในสังคมโลกออนไลน์ ร้อยละ 80

2 ข้อ 2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่

มีกิจกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมกันรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า

3 ข้อ 3.เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครอง และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจสามารถให้การดูแล ช่วยเหลือบุตรหลานให้ปลอดภัยจาก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครอง และแกนนำสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจสามารถให้การดูแล ช่วยเหลือบุตรหลานให้ปลอดภัยจาก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 จัอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ฯ แก่นักเรียน 110 11,650.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 จัดอบรมให้ความรู้ 55 7,450.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมขอคืนพื้นที่ 0 3,000.00 -
1 ก.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 การถอดบทเรียน 0 0.00 -
รวม 165 22,100.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะการป้องกันตนเอง รู้เท่ากันพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ตกเป็นเหยื่อในสังคมโลกออนไลน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า 2.เด็กและเยาวชนตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมกันรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ ในชุมชน 3.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครอง และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจสามารถให้การดูแลช่วยเหลือบุตรหลานให้ปลอดภัยจาก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 14:55 น.