โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิต-พิชิตสุขภาพใจนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนวัดโคกเหรียง
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิต-พิชิตสุขภาพใจนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนวัดโคกเหรียง |
รหัสโครงการ | 68-L5168-3-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดโคกเหรียง |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 มิถุนายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,830.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวิลาวรรณ แก่นจันทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวกุลวดี บินแหละ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.875,100.406place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 18 มิ.ย. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 11,830.00 | |||
รวมงบประมาณ | 11,830.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 68 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพจิต คือ ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดีมีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ ทั้งนี้ คำว่า สุขภาพจิตมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ความปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น จะเห็นได้ว่าสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับการนึกคิด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคลในบางครั้งผู้ที่มีสุขภาพจิตปกติอาจจะมีสุขภาพดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้ คนที่มีสุขภาพจิตดี จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆได้อย่างดี แม้บางอาจขัดแย้งหรือมีอารมณ์โกรธ หรือมีปัญหาชีวิต แต่ก็สามารถปรับอารมณ์และเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีโดยไม่เสียดุลทางจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่า สุขภาพจิตก็คือความมั่นคงทางใจนั่นเอง เราสามารถสร้างเสริมสุขภาพกายได้ด้วยภาวะจิตใจที่เป็นสุขสามารถปรับตัวแก้ปัญหา สร้างสรรค์ทำงานได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์อยู่ในสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ เราในฐานะผู้ใหญ่และผู้วางนโยบายต้องรับฟังเสียงของเด็กและวัยรุ่นที่กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางที่สุด เช่น เด็กข้ามชาติ เด็กไร้สัญชาติ และเด็กที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม พวกเขาต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือในโรงเรียน พ่อแม่และครูต้องเปิดใจพูดคุยและรับฟังปัญหาสุขภาพจิตที่ถูกตีตรามาเป็นเวลานาน นั่นหมายความว่า เราต้องสนับสนุนพ่อแม่ ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองให้มีความรู้ด้านสุขภาพจิต และช่วยเหลือเด็กๆ ที่กำลังเผชิญกับความรุนแรง การถูกรังแกในห้องเรียน สื่อเกมออนไลน์ และการฆาตกรรมในเยาวชน ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความทุกข์ ความ เครียด ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นได้กับทุกเพศวัย โดยปัญหามีต่างกันไปในเนื้อเรื่อง วัยเด็ก อาจเป็นเรื่องการเรียน วัยผู้ใหญ่อาจเป็นเรื่องสุขภาพ ความมั่นใจในตัวเอง ยิ่งผู้สูงอายุต้องดูแลสุขภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยใด ไม่ควรละเลยการดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจให้ดีพร้อมไว้ เพื่อห่างไกลโรค จากความเจ็บป่วย ดังนั้นโรงเรียนวัดโคกเหรียงเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้ พ่อ แม่ ผู้ปกครองนักเรียน และครู เพื่อสังเกต พฤติกรรมของนักเรียนได้ในเบื้องต้นเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาได้ทันกับสถานการณ์และเป็นการแก้ปัญหาที่ตนเหตุอย่างถูกต้องตามหลักการในระดับครอบครัวใน และหากเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตแล้วได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิต สาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นจากสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน
- สร้างความตระหนักในการสร้างสุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม อย่างถูกต้อง
- เป็นการส่งเสริม พัฒนา เด็กและเยาวชน ให้มีความพร้อมและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ของสังคมปัจจุบัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 14:59 น.