โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางเตง เล่นได้ สูงใหญ่ ไอคิวดี
ชื่อโครงการ | โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางเตง เล่นได้ สูงใหญ่ ไอคิวดี |
รหัสโครงการ | 68-L3337-03-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางเตง |
วันที่อนุมัติ | 24 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,340.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอรรถสิทธิ์ เพชรรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายกำพล เศรษฐสุข |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี “เป็นโอกาสทอง”ที่เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆสูงที่สุด เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่างๆเต็มตามศักยภาพ ถ้าเด็กได้เรียนรู้ที่ดีโดยเริ่มต้นจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและการเจริญเติบโตมีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครู ผู้ดูแลเด็ก จึงมีบทบาทสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพ่อแม่/ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กเล็กที่พ่อแม่/ผู้ปกครองนำมาฝากไว้มีพัฒนาการสมวัย อย่างไรก็ตามจากการเลี้ยงดูและการเอาใจใส่ที่แตกต่างกัน เช่น ขาดสารอาหาร สุขภาพไม่สมบูรณ์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดสิ่งกระตุ้นพัฒนาการ ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ขาดการกระตุ้นการตอบสนอง และอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยทำให้เด็กเล็กจำนวนหนึ่งมีพัฒนาการต่ำกว่าระดับศักยภาพปกติ การประเมินติดตามพัฒนาการเป็นประจำจะทำให้พบเด็กเล็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าเร็วขึ้นเพิ่มโอกาสในการพัฒนากระตุ้นแก้ไข ผ่านกิจกรรมการเล่นที่หลากหลายด้วยการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการเล่นจากผู้ร่วมเล่น คือ พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ครู ภายใต้สภาพแวดล้อมพื้นที่ สื่อ ของเล่นที่เหมาะสมและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัยของเด็กอย่างอิสระ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกๆด้าน
กรมอนามัยจะเร่งรัดส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่การจัดการโรคอ้วน เตี้ยในเด็กไทยยุควิถีชีวิตใหม่ ภายใต้โครงการ “กระโดด โลดเต้น เล่นเปลี่ยนร่าง” มุ่งเน้นให้เด็ก “กระโดด โลดเต้นและเล่นด้วยความสนุกสนาน”ในหลากหลายบริบท ทั้งที่บ้าน โรงเรียนและชุมชน จนรู้สึกเหนื่อยหอบ อย่างน้อยวันละ 60 นาทีทุกวัน โดยกิจกรรมที่ทำนอกจากเป็นกิจกรรมแบบแอโรบิกทั่วไปแล้ว ควรเป็นกิจกรรมที่ทีแรงกระแทกต่อข้อต่อร่วมอยู่ด้วย รวมทั้งฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์และยืดกล้ามเนื้อทุกวัน “กระโดด โลดเต้น เล่นสนุก” เพื่อการเจริญเติบโต ต้องทำให้พอที่จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเพลียหรือล้าแต่ต้องไม่มากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บ เพราะจะทำให้โปรตีนและฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต (Human Growth Hormone : HGH) ถูกดึงไปใช้สำหรับซ่อมแซมแทนที่จะนำมาใช้สำหรับการเจริญเติบโต” รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว ดังนั้น จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจและสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสที่จะ “เล่น” เพราะการเล่นถือเป็นหัวใจของการเรียนรู้ ในช่วงของเด็กปฐมวัย คือ การสร้างทักษะเพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างเป็นธรรมชาติตามจังหวะของตนเอง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางเตง จึงจัดโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางเตง เล่นได้ สูงใหญ่ ไอคิวดี เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็กปฐมวัยขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดซื้อเครื่องเล่นเปลี่ยนโลกสำหรับเด็กปฐมวัย ร้อยละร้อยสามารถซื้อเครื่องเล่นสำหรับเด็กได้เหมาะสมกับวัย |
100.00 | |
2 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการในเด็กปฐมวัย ร้อยละร้อยของเด็กได้รับการเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการ |
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,340.00 | 0 | 0.00 | 12,340.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ | 0 | 12,340.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 12,340.00 | 0 | 0.00 | 12,340.00 |
- เด็กปฐมวัยมีเครื่องเล่นสำหรับกิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสม
- เด็ก 2 – 3 ปี ได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน
- เด็ก 2 – 3 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและตรวจประเมินพัฒนาการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 16:08 น.