โครงการ ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง ตำบลช้างเผือก ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง ตำบลช้างเผือก ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2475-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง |
วันที่อนุมัติ | 16 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 23,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวไซนับ บินมะยะโกะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.997,101.573place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ | 0.33 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตำบลช้างเผือกมีภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ป่าค่อนข้างเยอะอากาศค่อนข้างชื้น ทำให้เหมาะต่อการเกิดโรคนำโดยแมลงและโรคติดต่อที่พบบ่อย มีโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก แต่ในส่วนของพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง โรคติดต่อที่เป็นปัญหามากจากการ ทำ SRM(ประชาคม)คือโรคไข้เลือดออกและเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงมากในปี 2566 ถึง 353.65 /แสน ปชก.และลดลงมาในปี 2567 (มค.67-กย.67) เป็น 265.95 /แสน ปชก. และมีแนวโน้มจะเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ โรคนี้ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในการที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคนี้ให้หมดไป ในพื้นที่ตำบลช้างเผือก จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำทุกๆ ปี เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ โดยเน้นให้ลดอัตราป่วยหรือจนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยเลย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง จึงได้จัดทำโครงการ“ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก” เพื่อลดปัญหาอัตราป่วยของประชากรให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเพื่อสร้างนิสัยการป้องกันโรคย่อมดีกว่าการแก้ไขเมื่อมีโรคเกิดขึ้นแล้ว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุให้ต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่พบอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100 |
100.00 | |
2 | ไม่พบอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่พบอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100 |
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,200.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 68 - 29 ส.ค. 68 | กิจกรรมพ่นหมอกควันหรือละอองฝอยเพื่อทำลายยุงลายตัวแก่ตามหลังคาเรือนในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค | 0 | 23,200.00 | - |
- เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือด ให้น้อยที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพ
- ประชาชนมีความรู้ เข้าใจ และให้ความสำคัญในการป้องกันและคุมการระบาดของโรค
- แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในระยะยาว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 08:41 น.