สร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก แก้ไขภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัย
ชื่อโครงการ | สร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก แก้ไขภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัย |
รหัสโครงการ | 68-L5295-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 20 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,580.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประชา หนูหมาด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.048,99.817place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในสังคมปัจจุบันมีปัญหา การตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์ ตั้งครรภ์ในวัยเรียน ทำให้มีการดูแลตนเองไม่เหมาะสม เป็นผลให้ เกิดปัญหาทางระบบสาธารณสุขเช่น การทำแท้ง การเสียชีวิตจากภาวะตกเลือด ภาวะคลอดก่อนกำหนด การพิการแต่กำเนิด เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่ต้องมีการให้ความสำคัญและมีผลระยะยาวต่อทารกที่เกิดมา พบว่าในสถานการณ์ปัจจุบันมารดาที่ตั้งครรภ์วัยรุ่นมักมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะโลหิตจาง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะเจ็บครรภ์นาน และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่ เมื่อไม่พร้อมกับการเป็นแม่ จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดีแล โดยให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ตามมานอกจากนี้ การตั้งครรภ์ในวัยเรียนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม วัฒนธรรมต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมในภาพรวม อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กปฐมวัยไทย ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อสามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพเกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรงและมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่นมารดาและทารกปลอดภัย ดังนั้น ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนถึงคลอดลูกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่2 ( พ.ศ.2560-2569 )ที่เน้นการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ป้องกันภาวะคลอดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และให้ความรู้แก่ อสม.ให้เขตรับผิดชอบ เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างความตระหนักให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความพร้อมและตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ -หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์คิดเป็นร้อยละ 80 -หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
|
80.00 | |
2 | เพื่อให้เด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วน -เด็ก 0-5 ปีได้รับการคัดกรองโภชนาการ (ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง)>ร้อยละ90 -เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย >ร้อยละ87 -เด็ก0-5 ปี มีภาวะเตี้ย |
90.00 | |
3 | เพื่อเสริมสร้างทักษะให้แก่อาสาสมัครหมู่บ้านให้มีความรู้ด้านการดูแลหญิงตั้งครรภ์และสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและถูกต้อง อสม.มีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้ คิดเป็นร้อยละ 90 |
90.00 | |
4 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์เร็วก่อน12 สัปดาห์ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่า12 สัปดาห์ >ร้อยละ 75 |
75.00 | |
5 | เพื่อสร้างเสริมความตระหนักรู้การปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน -มารดาหลังคลอดมีความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังคลอด ร้อยละ90 -เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว >ร้อยละ65 |
90.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2568-31 ก.ค. 2568) | 10,200.00 | ||||||||
2 | อบรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2568-31 พ.ค. 2568) | 7,320.00 | ||||||||
3 | อบรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2568-31 พ.ค. 2568) | 5,060.00 | ||||||||
รวม | 22,580.00 |
1 อบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 10,200.00 | 0 | 0.00 | 10,200.00 | |
1 - 31 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ | 30 | 10,200.00 | - | - | ||
2 อบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 20 | 7,320.00 | 0 | 0.00 | 7,320.00 | |
1 - 31 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย | 20 | 7,320.00 | - | - | ||
3 อบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 20 | 5,060.00 | 0 | 0.00 | 5,060.00 | |
1 - 31 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้แก่อสม. | 20 | 5,060.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 70 | 22,580.00 | 0 | 0.00 | 22,580.00 |
1.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 2.เด็กอายุ0-5 ปีมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์และมีพัฒนาการสมวัย 3.อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 4.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 09:04 น.