โครงการการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อโครงการ | โครงการการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2475-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านกูมุง |
วันที่อนุมัติ | 16 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 กุมภาพันธ์ 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัสมัน มะมิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.997,101.573place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้ป่วยมีปัญหาโรคกล้ามเนื้อและมารับบริการนวดแพทย์แผนไทย | 53.30 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นลักษณะแนวสุขภาพแบบองค์รวม โดยองค์ความรู้ที่ใช้จะเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่ในอดีตบวกกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจุบัน ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อมาดูแลสุขภาพ ให้สามารถพึ่งพาตนเอง เป็นการดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิด เพียงแค่รู้จักนำสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ เราก็สามารถบรรเทาอาการและรักษาโรคเบื้องต้นอย่างได้ผล สมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว มีการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมานาน และเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น รวมถึงสมุนไพรเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว โดยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่นยารักษาโรค เป็นได้ทั้งยาใช้ภายในและยาใช้ภายนอก อีกทั้งสมุนไพรส่วนใหญ่มีฤทธิ์อ่อนไม่เป็นพิษหรือมีอาการข้างเคียงรุนแรง จึงควรค่าอย่างยิ่งที่เราจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ สามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาต่อยอดให้กลายเป็นตัวยาที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง รวมถึงยังได้องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำยาสมุนไพร เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาชนให้มีความรู้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการใช้ยาสมุไพรเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคในระบบกล้ามเนื้อเนื่องจากผู้ป่วยมาด้วยอาการทางระบบกล้ามเนื้อค่อนข้างมาก จึงได้จัดทำโครงการการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตและใช้ลูกประคบ รวมทั้งสามารถทำกิจกรรมบริหารกายด้วยท่าฤาษีดัดตนด้วยตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ตามแนวทางการแพทย์แผนไทย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์จากสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพของตนเอง ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ทำแบบทดสอบความรู้หลังการอบรมผ่านมากกว่าร้อยละ 50 |
50.00 | |
2 | เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยมีปัญหาโรคกล้ามเนื้อและมารับบริการนวดแพทย์แผนไทยน้อยกว่าร้อยละ 50 |
50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | |
15 ก.พ. 68 - 29 ส.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทยแก่กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ในหัวข้อเรื่อง การทำลูกประคบ | 50 | 10,000.00 | - |
1.รู้จักการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 2.มีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพรในการดูแลสุขภาพของตนเอง และคนใกล้ตัว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 09:13 น.