ลดภาวะเสี่ยงในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
ชื่อโครงการ | ลดภาวะเสี่ยงในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ |
รหัสโครงการ | 68-L5295-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาแดง |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 20 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวทันยา เทพสิงหรณ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.048,99.817place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบาลบ้านเขาแดง ตำบลป่าแก่บ่อหิน ปี ๒๕๖๗ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด แยกเป็นผู้ป่วยเบาหวานจำนวน ๓๖ คน คุมน้ำตาลได้ไม่ดีจำนวน ๒๐ คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน ๖๒ คน คุมความดันโลหิตได้ไม่ดีจำนวน ๓๐ คน ผู้ป่วยที่มีค่า eGFR ระดับ ๓ ขึ้นไปจำนวน ๓๐ คน พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังจะส่งผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด,โรคหลอดเลือดสมอง,โรคไต ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ เพศ ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤตของแต่ละบุคคลหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมอาจเกิดการเสียชีวิตรวมทั้งเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งได้แก่กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองพบว่าอัตราการเสียชีวิตก็มีมาก ส่วนผู้ที่รอดชีวิตมักเกิดความพิการหลงเหลือตามมามากที่สุด พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคคือการที่ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดที่มีอัตราการควบคุมระดับความดันโลหิตมากกว่า ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอทค่าน้ำตาลสะสม(HbA1C)มากกว่า ๖.๗ % และการทำงานของไต (eGFR) ลดลง ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบาลบ้านเขาแดง ได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงเกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 (วัดจากแบบทดสอบความรู้หลังเข้าร่วมโครงการ) 2.กลุ่มเป้าหมายเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวในระดับที่ดีขึ้นและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
85.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในภาวะฉุกเฉินได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ สามารถประเมินโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยตนเองในภาวะฉุกเฉินได้ |
50.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดและหัวใจการป้องกันและประเมินตนเองในภาวะฉุกเฉินได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจและประเมินตนเองในภาวะฉุกเฉินได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ (ประเมินจากแบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินตนเอง) |
50.00 | |
4 | ข้อที่ ๔. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคไต ข้อที่ ๕. เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๒๐ ของผู้ป่วยที่ค่า eGFR ระดับ ๓ ขึ้นไปดีขึ้น |
20.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรม ให้ความรู้(1 มี.ค. 2568-31 ส.ค. 2568) | 9,100.00 | ||||||
2 | กิจกรรมการตรวจคัดกรอง(1 ส.ค. 2568-31 ส.ค. 2568) | 3,300.00 | ||||||
รวม | 12,400.00 |
1 อบรม ให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 50 | 9,100.00 | 0 | 0.00 | 9,100.00 | |
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย | 50 | 9,100.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมการตรวจคัดกรอง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 50 | 3,300.00 | 0 | 0.00 | 3,300.00 | |
1 - 31 ส.ค. 68 | ตรวจคัดกรอง | 50 | 3,300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 12,400.00 | 0 | 0.00 | 12,400.00 |
๑. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดและหัวใจ, โรคไต มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดและหัวใจ, โรคไต การป้องกันและประเมินตนเองในภาวะฉุกเฉินได้ด้วยตนเอง ๓. อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 11:30 น.