โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลลิปะสะโง
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลลิปะสะโง |
รหัสโครงการ | 68-L3071-2-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโง |
วันที่อนุมัติ | 16 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 33,270.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมารีเยาะ ปูเตะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.805,101.231place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.พ. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 33,270.00 | |||
รวมงบประมาณ | 33,270.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีน้ำาหนักเกินเกณฑ์ หรือเรียกว่าอ้วน และอายุที่มากขึ้น นามาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง คาดว่าความชุก ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2583 ซึ่งโรคเบาหวานที่ดูแลรักษาได้ไม่ดีอาจท าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผล เสียต่อร่างกาย เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้าหรือขา โรคติดต่อเคยเป็นสาเหตุหลัก ของการเสียชีวิต และทุพพลภาพทั่วโลก แต่เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ก าลังจะกลายเป็น สาเหตุหลัก มากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย มีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมถึงเบาหวาน ในปี 2563 พบว่ามีการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เป็นจำนวน ประมาณ 76,000 ราย หรือมากกว่า 200 รายในแต่ละวัน ในประเทศไทยคาดว่ามีเพียงร้อยละ 57 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ การวินิจฉัย ซึ่งส่วนใหญ่ ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจะได้รับการรักษามีเพียงร้อยละ 35.6 ของผู้ที่ได้รับการรักษา ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำ ให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทาง โภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุ การนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลบลิปะสะโง ในปีงบประมาณ 2567 พบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 244 คน ผู้ป่วย เบาหวาน จำนวน 94 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ...64....ราย .ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ 120 คน คิดเป็นร้อยละ 49.18 ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดได้ 17 คน คิดเป็นร้อยละ 18.09 และจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่ม ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน ...1,252.....คน พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 6.18 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 2 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน …4 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2568” ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วย ตาย ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมีความรู้ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องใน การป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องใน การป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง |
50.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทางไต ตา และเท้า ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทางไต ตา และเท้า |
50.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ประชุมชี้แจง(1 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) | 920.00 | ||||||||
2 | กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง(1 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) | 10,000.00 | ||||||||
3 | ติดตามกลุ่มเสี่ยง(1 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) | 22,350.00 | ||||||||
รวม | 33,270.00 |
1 ประชุมชี้แจง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 37 | 920.00 | 0 | 0.00 | 920.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ชี้แจงกิจกรรมโครงการให้กับอาสาสมัครสาธารสุณสุขเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน | 37 | 920.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 50 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง | 50 | 10,000.00 | - | - | ||
3 ติดตามกลุ่มเสี่ยง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 50 | 22,350.00 | 0 | 0.00 | 22,350.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามกลุ่มเสี่ยงความดัน และเบาหวานประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปโดย.อสม. | 50 | 22,350.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 137 | 33,270.00 | 0 | 0.00 | 33,270.00 |
- กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปี มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดัน ค่าความดันโลหิตสูงมีค่าความดันและค่าน้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปี มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามทุกราย 3.ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 13:33 น.