โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2539-01-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,960.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจุฑาวรรณ บือซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อ” หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรง หรือทางอ้อมมาสู่คน “โรคติดต่ออันตราย” หมายความว่า โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ อย่างรวดเร็ว “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” หมายความว่า โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง “โรคระบาด” หมายความว่า โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง หรือมีภาวะของการเกิดโรคมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(โควิด-19,ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคเยื่อบุตาอักเสบ/โรคตาแดง โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ มีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ สามารถแก้ไขต้นตอปัญหาการเกิดโรค ดังนั้น เพื่อให้สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ปี 2568 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามรถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อร้อยละ 50 |
80.00 | 20.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้ ร้อยละ 50 |
80.00 | 20.00 |
3 | เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อต่างๆในพื้นที่ได้ทันท่วงที ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มเติม ในช่วงเฝ้าระวัง 2 เท่าของระยะฟักตัว ร้อยละ 20 |
70.00 | 10.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ | 0 | 21,960.00 | - | ||
รวม | 0 | 21,960.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ร้อยละ 50 2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ร้อยละ 50 3.สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อต่างๆในพื้นที่ได้ทันท่วงที ร้อยละ 20
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 00:00 น.