กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลปากพะยูน ปี 2568 กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน
รหัสโครงการ 68-L3337-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 ธันวาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2569
งบประมาณ 48,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภาวิดา เกื้อก่อกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม – 16 ตุลาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 88,133 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 1,709 ราย) อัตราป่วย 133.09 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่า ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 1.90 เท่า และมากกว่า ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ปี พ.ศ. 2562–2566) 1.3 เท่า (ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา) โรคไข้เลือดเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และอำเภอปากพะยูนว่า จากรายงานของปี 2565 ตั้งแต่        1 ม.ค. 2565 จนถึง 30 ธ.ค. 2565 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์สภาพอากาศมีฝนตกชุกตลอดปี และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันกองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน ร่วมกับคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ และอาสาสมัครสาธารณสุขของ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกมาเป็นระยะเวลาหลายปี พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกลดลงมากแต่ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ใกล้เคียงมีมาอย่างต่อเนื่องและประชาชนยังขาดความตระหนักต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบาย เชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
      ในการนี้คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการระบาดของโรคจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพเกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

น้อยลงจากปีที่ผ่านมา

80.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน
  1. ค่า HI < 15 ๒. ค่า CI = 10
  2. ค่า BI < 15
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านมา ๒. สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน ๓. ความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลงจากปีที่ผ่านมา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2568 14:29 น.