โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำเทียนหอมและสเปรย์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำเทียนหอมและสเปรย์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L8302-2-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 1 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายปรีดี อิสหัส นางสาวซอฟยะห์ มะดือเร๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน) | 40.00 | ||
2 | ร้อยละของครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อ บำบัด บรรเทาอาการเจ็บป่วย เบื้องต้นอย่างเหมาะสม | 40.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่มีการระบาดอยู่ทั่วประเทศ และเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลกระทบตามมามากมาย เช่น เป็นภาระของครอบครัว ผลต่อการเรียน ต่อการทำงาน และค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ด้วยเหตุนี้ ปัญหาโรคไข้เลือดออก จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เราทุกคนในสังคม ควรช่วยกันป้องกัน แก้ไข อย่างจริงจัง เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย และเพื่อลดผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับชาติ ในส่วนของเขตพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตกเอง ก็มีผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคไข้เลือดออกในทุก ๆ ปี ทั้งที่มีการรณรงค์ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุงลาย อย่างต่อเนื่อง โดยทางคณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและ เทศบาลตำบลมะรือโบตก
ดังนั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงปัญหาจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่มีการระบาดอยู่ทั่วประเทศ และเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลกระทบตามมามากมาย จึงได้จัดทำเทียนหอมและสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงขึ้น ซึ่งเป็นการแปรรูปสมุนไพรที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นนำมาใช้ประโยชน์ในการไล่ยุง ป้องกันยุง และแมลงอื่น ๆ กัด ประชาชนได้ใช้สเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงที่ปลอดสารพิษ ราคาถูก และยังสามารถทำได้เองในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติของตะไคร้หอมมีหลายอย่าง เช่น ช่วยไล่ยุง ขับเหงื่อ เป็นยาบำรุง (สมยศ จารุวิจิตรวัฒนา และคณะ, 2525) มีการทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง โดยทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้ส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม 17% พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้นาน 3 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
---|
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
๑.ระยะเตรียมการ
- เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
- จัดทำแผน เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อ ที่ใช้ในการอบรม
๒.ระยะดำเนินการ
- ให้ความรู้เรื่องอันตรายของโรคไข้เลือดออก/ประโยชน์ของการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่น/ป้องกันไข้เลือดออก
- ฝึกปฏิบัติการการทำเทียนหอมและสเปรย์จากสมุนไพร
3.ติดตามและสรุปผลดำเนินโครงการ
ผู้เข้าอบรมสามารถนำวิธีผลิตเทียนหอมและสเปรย์ไปใช้ในครัวเรือนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2568 15:30 น.