โครงการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน |
รหัสโครงการ | 68-L8302-2-19 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนเเทศบาลตำบลมะรือโบตก |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 1 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,165.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนิซูไฮฟาร์ สาเมาะ นายเทรี อาลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 53 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี | 10.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน ความเครียดจากการเรียน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และปัจจัยทางสังคมสามารถส่งผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเยาวชน หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือปัญหาพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออนาคตของพวกเขา สาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตกคือ ความยากจนไม่เงินทุนที่จะเรียนต่อยิ่งเดี่ยวนี้สังคมเรายุคของเราไปไกลเปลี่ยนเเปลงเยอะมากปัญหาที่ตามมาอีกคือครอบครัวไม่เข้าใจ“ลูก”และปัญหาการเเข่งขัน เเละอีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นรวมด้วยอีกคือ ความเครียดจากการเรียน ความคาดหวัง สภาพเเวดล้อมที่โรงเรียนและที่บ้าน(ครอบครัว) ภาพรวมของสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตกดังนี้:1. ความยากจน ไม่มีเงินทุนเรียนต่อ 30% 2.ครอบครัวไม่เข้าใจลูก 25% 3.ปัญหาการแข่งขัน 15% 4. ความเครียดจากการเรียน10% 5.ความคาดหวัง 10% 6.สภาพแวดล้อมที่โรงเรียนและที่บ้าน 10% จากสถิติพบว่า ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน เป็นที่เรื่องสำคัญมาก ทางสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลมะรือโบตก จึงขอจัด “โครงการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน” ในพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตก โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตของตนเองและเพื่อนรอบข้าง รวมถึงสามารถเป็น “แกนนำ” ในการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาเบื้องต้น และสร้างสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดี การมีแกนนำเยาวชนที่ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตจะช่วยสร้างเครือข่ายการดูแลที่เข้าถึงได้ง่าย และเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี |
10.00 | 10.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 มิ.ย. 68 - 1 ก.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในสุขภาพจิตและแนวทางการป้องกัน | 11,865.00 | - | |||
1 มิ.ย. 68 - 1 ก.ค. 68 | เวิร์กช็อปทักษะการฟังและให้คำปรึกษาเบื้องต้น | 8,300.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลมะรือโบตกเตรียมข้อมูลเพื่อร่างโครงการ 2. ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯตามโรงเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลมะรือโบตก 3. ดำเนินการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่สามารถเป็นแกนนำได้ 4. ดำเนินการจัดโครงการฯ 5. สร้างแกนนำเยาวชนสุขภาพจิตเด็กและเยาวชน 6. รายงานผลโครงการฯ
- เยาวชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น วิธีจัดการความเครียดอารมณ์ และการดูแลจิตใจของตนเอง
- เยาวชนสามารถเป็นที่พึ่งให้เพื่อนๆได้ โดยรู้วิธีการฟัง การให้กำลังใจ และการนำแหล่งช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
- เกิดแกนนำเยาวชนสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนมีทักษะในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2568 15:38 น.