โครงการอบรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2971-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลกะพ้อ |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,720.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมุนีร อาแวนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 33 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และมีแนวโน้มที่จะยังเป็นปัญหาในอนาคต โดยโรคไข้เลือดออกมีลักษณะที่แปรผันตามฤดูกาล (Seasonal variation) ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้จะส่งผลกระทบต่อต่อสุขภาพของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและสังคม โดยปัจจุบันนี้จะพบว่าไข้เลือดออกจะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี แต่จะมีผู้ป่วยสูงขึ้นในเดือนเมษายนและสูงสุดในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน เดือนกันยายนจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง แต่ถ้าหากช่วงปลายปีจำนวนผู้ป่วยไม่ลดลงและยังคงสูงลอย อาจทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไปได้ การที่จะป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนเอง
สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับการแพร่กระจายโรคไข้เลือดออกอย่างยิ่ง
จากสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2567 พบจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จำนวน 2,441 ราย อำเภอกะพ้อเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะเห็นได้ว่า ปี พ.ศ. 2567 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 50 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
ดังนั้นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและช่วยกันปฏิบัติกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค จึงได้จัดทำโครงการอบรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปี 2568 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี |
1.00 | 2.00 |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 90 ประชาชน ผู้นำชุมชน และภาคีมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม |
1.00 | 2.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | อบรมเรื่องโรคไข้เลือดออก และการพ่นหมอกควัน | 8,720.00 | - | |||
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | ปฏิบัติการพ่นหมอกควันในช่วงก่อนเกิดการระบาดในหมู่บ้าน มัสยิด วัด และโรงเรียน | 6,000.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 00:00 น.