โครงการชุมชนคลองปางร่วมใจ สานพลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ลดพุง ลดเสี่ยง ห่างไกลโรคเรื้อรัง ปราศจากภาวะแทรกซ้อน ปีงบ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนคลองปางร่วมใจ สานพลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ลดพุง ลดเสี่ยง ห่างไกลโรคเรื้อรัง ปราศจากภาวะแทรกซ้อน ปีงบ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1512-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชวลิตร คีรีรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.987,99.645place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 14,700.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,700.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ค่านิยมวัฒนธรรมตะวันตก ที่ทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน การแข่งขันทางธุรกิจ การบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ จะนำมาสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การจัดการด้านอารมณ์ การผ่อนคลายความเครียด และการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
โดยจากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตตำบลคลองปาง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง ปีงบประมาณ ๒๕๖8 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 129 ราย จากประชากรกลุ่มเป้าหมาย 1,226 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.52 และพบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 208 ราย จากประชากรกลุ่มเป้าหมาย 1,430 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.55 นอกจากนี้กลุ่มป่วยที่รับยาที่โรงพยาบาลรัษฎาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง ตั้งแต่ปี ๒๕๖2-๒๕๖7 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจากการติดตามวัดความดันซ้ำในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อเนื่อง ๗ วัน โดยอสม.ในพื้นที่ พบว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน จึงได้จัดโครงการชุมชนคลองปางร่วมใจ สานพลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ลดพุง ลดเสี่ยง ห่างไกลโรคเรื้อรัง ปราศจากภาวะแทรกซ้อน ปีงบ 2568 เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบยั่งยืน สร้างแกนนำสุขภาพ ลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนตำบลคลองปางที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 ประชาชน มีความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง |
||
2 | เพื่อสร้างแกนนำต้นแบบของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนตำบลคลองปาง ร้อยละ 60 ของ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยประเมินจากภาวะสุขภาพโดยรวม ก่อนและหลังอบรม (สามารถเป็นบุคคลต้นแบบเรื่อง การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง) |
||
3 | .เพื่อสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบบยั่งยืน ร้อยละ 60 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง /ประชาชนกลุ่มเสี่ยง /ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วย /ประชาชนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ BMI และรอบเอวของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติหรือลดลงจากระดับเดิมก่อนเข้าอบรมได้ |
||
4 | เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ป่วยรายเก่า ร้อยละ 80 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง /ประชาชนกลุ่มเสี่ยง /ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วย /ประชาชนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ เรื่องการนำแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม |
||
5 | .เพื่อนำความรู้เรื่องแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ประชาชนเขตตำบลคลองปาง
|
1.ประชาชนตำบลคลองปางที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 2.สร้างแกนนำต้นแบบของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนตำบลคลองปาง 3.สร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบบยั่งยืน 4.ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ป่วยรายเก่า 5.นำความรู้เรื่องแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ประชาชนเขตตำบลคลองปาง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 10:29 น.