โครงการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 2)
ชื่อโครงการ | โครงการ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 2) |
รหัสโครงการ | 68-L7884-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 70,875.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮัณาฐ์ โต๊ะพา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่ สังคมสูงวัย (Aging Society) โดยสัดส่วนจำนวนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กลดลงจากภาวการณ์เจริญพันธ์ และอัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงในขณะที่ประชากรที่อยู่ ในวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษกิจและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีสุขภาพดีมีอายุยืนยาวมีโอกาสำด้รับการศึกษาที่สูงขึ้นมีความรู้และทักษะในการป้องกันและดูแลตนเอง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในระดับชาติและในระดับโลก โดยองค์กร สหประชาชาติ (UN) ได้นิยามว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปี ขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้ง ประเทศถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) และจะเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20 และ อายุ 65 ปี ขึ้นไปเป็นร้อยละ 14 ประเทศไทยก็เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงนี้จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 5 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดดยในปี 2537 มีจำนวน ผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ร้อยละ 10.7 ร้อยละ 12.2 ในปี 2545,2550,2554 ตามลำดับผลการสำรวจปี 2567 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากร ทั้งหมดประเทศ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2565) และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นโดยคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มสูงถึงประมาณร้อยละ 19.13 และในปี 2571 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ร้อยละ 23.5 ตึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากมีผลกระทบอย่างกว้างขวางในระดับมหาภาคได้แก่ ผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รายได้ต่อหัวของประชากร การออมและการลงทุน งบประมาณของรัฐบาล การจ้างาน และผลิตภาพของแรงงานและระดับ 3 ุลภาค ได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์ และบริการด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ (ปรีชา อุปโยธิน และคณะ,2548) ในระดับชุมชนและครอบครัว เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีผลทำให้โครงสร้างครอบครัวเปลี่นไปเป็นครอบครัวเดี่ยว ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง บางครอบครัว พ่อแม่ ที่เลี้ยงดูลูกโดยลำพัง และยังต้องทำงานเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย ลุกเล็กๆ ต้องฝากเลี้ยงไว้สถานที่เลี้ยงเด็กหรือพี่เลี้ยง เด็กจึงขาดโอกาสในการได้รับการอบรมเลี้ยงดูอละรับการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ที่เป็นความสัมพันธ์ในครอบครัว และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญา ความคิดและทัศนคติที่ดีจากครอบครัวที่อยู่ร่วมกันหลายคน หรือเรียนรู้ ภูมิปัญญา จากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทำให้ความเชื่มโยงความรู้ ภูมิปัญญาจากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในครอบครัวเจือจางลง หรือขาดหายไป เกิดช่องว่างความสัมพัธ์ระหว่างวัย ผู้สูงอายุมีความกังวลที่จะต้องเผชิญกับช่วงวัยการเปลี่ยนผ่านของชีวิตที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย เป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หรือต้องมี การปรับระบบวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทั้งความเปลี่ยนแปลง กายภาพหรือร่างกาย
(Physiological) ด้านอารมณ์ (Emotional) ด้านการเรียนรู้ สติปัญญา (Cognitive) ด้านเศรษกิจ (Economic) และสถานภาพทางสังคม (Social Status) สิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
การดุแลเพื่อสงเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริมการจัดตั้งชมรม เบี้ยยังชีพรายเดือน และสวัสดีการเฉพาะผู้สูงอายุอื่นๆ แต่ผู้สูงอายุยังขาดโอกาสในการส่งเสริมให้สามารถพึ่งตนเอง ประกอบกับระบบครอบครัวเครือญาติ และเพื่อนบ้านในชุมชนขาดปัจจัยหลักใน 3 ประการ คือ 1. การให้ความสำคัญของบทบาทผู้สูงอายุและการตระหนักถูงบทบาทครอบครัวและชุมชนต่อการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องปรับเงื่นไขของวิธีคิด ปรับจิตใจ และปรับเวลาให้สามารถพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วม อย่างใกล้ชิดในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น 2. การขาดความรู้ความเข้าใจ แลัทักษะในการดูแลตลอดจนการพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะกายใจสังคมและสติปัญญาที่เข้มแข็ง สามารถปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสม กับการอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างสมดุลและมีความสุข 3. การตระหนักว่าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีคุฯค่าและผ่านประสบการณ์มามากมาย ทำอย่างไรครอบครัวและชุมชนจะนำสิ่งที่ผู้สูงอายุมาถ่ายทอดคนรุ่นหลังได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจที่สามารถทำประโยชน์ให้กับลุกหลานมากกว่ารู้สึกว่าเป็นภาระที่ลุกหลานต้องเลี้ยงดู (วาทินี บุญชะลักษีและยุพิน วรสิริอมร,2539)
ผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองปัตตานี ต้องประสบกับเกตุกาณ์ไม่สงบต่างๆ และอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้ภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกับผู้สุงอายุในพื้นที่อื่น ดังนัั้นการส่งเสริมสุขภาพเป็นกลวิธีที่สำคัญที่จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมัคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพครอบคลุมและครบถ้วน 2. เพื่อส่งเสริมและติดตามดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี ครอบคลุม ครบถ้วน และเหมาะสม 3. เพื่อให้ครอบครัวผู้สูงอายุ มีความรู้และสามารถส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี ครอบคลุมครบถ้วนและเหมาะสมได้อย่างถูกต้อง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงและวางแผนการดำเนินงาน พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกับแกนนำชุมชนที่รับผิดชอบ เขตวอกะห์เจะฮะ และเขตมัสยิดกลาง ตำบลจะบังติกอ อำเถอเมืองปัตตานี
- ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผ่านแกนนำชุมชน หอกระจายข่าวในชุมชน มัสยิดในชุมชน
- จัดทำแผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ ระบบสุขภาพชุมชน
- ทำประชาคมเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
- รวบรวมข้อมูล ประเมินสุขภาพและตรวจคัดกรองโรค และส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุด้วยการจัดกิจกรรมการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น และการดูแล เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม ภาวะสมองเสื่ม หลอดเลืดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคตา โรคจิตเวชในผู้สูงอายุ อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ การใช่ยา การใช้สมุนไพร และอาหารเสริม การดูแลสุขภาพช่องปาก การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ การเตรียมจัวก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต และการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน
- ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและครอบครัว
- การประเมินผลถอดบทเรียนและคืนข้อมูลสู้ชุมชน
- ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพ ตรวจคัดกรองสุขภาพและมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ
- ครอบครัวมีความรู้และสามราถดูแลสุขภาพ และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างถูกวิธี
- ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ได้รับการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไข และรักษาอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง การประเมินผล
- ประเมินภาวะผู้สุงอายุก่อนและหลังเข้าร่วงโครงการ
- ประเมินความพึงพอใจในการจัดทำดครงการ
- สรุปผลกิจกรรมและนำเสนอผลการดำเนินตามโครงการ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 11:12 น.