กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้นแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 68-L7884-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮัณาฐ์ โต๊ะพา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาอนามัยแม่และเด็กที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ สถานการณ์จังหวัดปัตตานี พบอัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปี ในปี 2566 ไตรมาสที่1,2,3 และ 4 จังหวัดปัตตานี เท่ากับ 17.46,18.49,19.09 และ 17.67 ต่อประชากรหญิง 1,000 คน ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข,2566) ปัญการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสุขภาพตนเองและบุตร ครอบครัวสังคมและเศษฐกิจในหลายระดับตั้งแต่ระดับบุคคลสังคมและประเทศ เช่น มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด ซึ่งส่งผลกระทบหลายด้านต่อหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และครอบครัว ผลกระทบด้านร่างกาย ได้แก่ การเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะโลหิตจาง (Korencan,Pinter,Grebenc,& vERDENIK,2017) ผลกระทบด้านจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า (November&Sandall,2018) ผลกระทบต่อบุตร เช่น ภาวะคลอดก่อนกำหนด (Mombo-Ngoma et al.,2016) และน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม (Egbe et al.,2015) ผลกระทบต่อครอบครัว ได้แก่ ความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล (November&Sandall,2018) และทะเลาะวิวาท (Ntinda,Thwala,&Dlamini,2016) สิ่งเหลานี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและขาดความรับผิดชอบตัวเอง นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช้น การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง และยังมีผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมทั้งมีความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูลุก กระทำความรุนแรงในครอบครัว กลายเป็นแรงงานราคาถูก สภาวะทางอารมณ์ไม่มั่นคงจึงมีความเสี่ยงสุงที่จะเกิดความเครียด และภาวะซึมเศร้าเพราะต้องการปกปิดเรื่องการตั้งครรภ์หรือการมีลูกต่อผู้ปกครอง และยังอาจจะเิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาอีกมากและปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังขาดภูมิคุ้มกัน และทักษะในการดำเนินชีวิตภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสัมคม   มาตรการที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชนได้อย่างแท้จริงและมีความยั่งยืนประการหนึ่ง คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด้กและเยาวชน โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงและหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้ เด็กและเยาวชนต้องมีความตระหนักถึงการมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยต่อตนเองและสังคมด้วยการให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนในมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ความรุนแรงของปัญหา ตลอดจนผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น   ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นยางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับการขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งมี่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ม่พร้อมไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันแก้ไขดดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ดังนั้น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และคณะอนุกรรมการยุทธศาสาตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จึงจัดทำโครงการต้นแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และเจ้าหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะชีวิติในการคิดการป้องกันตนเอง และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเพศศึกษา ทักษะชีวิตและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  2. การประเมินภาวะสุขภาพและการจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพนักเรียน
  3. อบรมให้ความรู้เพศศึกษา ทักษะชีวิตและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในโรงเรียนเทศบาล 1 เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  4. การประเมินผลถอดบทเรียนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน ร่วมกับเครื่อข่ายเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  2. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ในเขตเทศบาลมีจำนวนลดลง
  3. เยาวชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  4. เยาวชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 11:20 น.