โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค |
รหัสโครงการ | 2568-L3311-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.หมู่ที่ 3 บ้านท่าลาด |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 7,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอาภา จันธำรงค์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.491,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกาย เกิดภาวะสะสมความเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอด ไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๓ บ้านท่าลาด จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือ และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมในการลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง |
||
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๗๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีระดับความดันและน้ำตาลลดลง |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพและการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง
๒. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนัก รวมทั้งสามารถประเมินสภาวะสุขภาพในเรื่องการป้องกันโรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
๓. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการวินิจฉัยได้รับการเยี่ยมบ้าน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 11:38 น.