โครงการพอกเข่า เยาว์วัย
ชื่อโครงการ | โครงการพอกเข่า เยาว์วัย |
รหัสโครงการ | 2568-L3311-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านควนขนุน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 9,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวรรณี มูสิกเจริญ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.491,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ปัจจุบันอัตราการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมีจำนวน เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้น โดยโรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่ ปวดข้อ ข้อฝืด มีปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทำงานของข้อเสียไป และการเคลื่อนไหวลดลง ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น รวมทั้งสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคในกลุ่มโรคข้อและกระดูก อาทิ ความเร่งรีบในการใช้ชีวิต ประชากรขาดการใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกายซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคมากขึ้น หรืออีกทางหนึ่งคือ ลักษณะการประกอบอาชีพที่ใช้แรงงาน อิริยาบถท่าทางต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้มีแรงกระทำต่อข้อมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดความเสื่อม และการสึกกร่อนของข้อ ซึ่งจะเกิดอาการปวดข้อตามมา แนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยการบำบัดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy) การบำบัดด้วยการใช้ยา (pharmacological therapy) และการบำบัดโดยการผ่าตัด (surgical treatment) นอกจากการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการนำการแพทย์แบบผสมผสานมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะศาสตร์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ การรักษาด้วยการนวดไทย การประคบสมุนไพร กาใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่า รวมถึงการทำหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยต่าง ๆ เช่น การเผายา การกักน้ำมัน และการพอกยา ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ดังนั้นชมรม อสม.หมู่ที่ ๖ บ้านควนขนุน จึงได้ทำโครงการพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีการนำสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน และมีสรรพคุณในการลดอาการปวด และการอักเสบมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่า โดยจะเลือกเป็นวิธีการพอกเข่า และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคเข่าเสื่อม ร้อยละ ๘0 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อม ร้อยละ ๘0 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการโรคเข่าเสื่อม |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ๑.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการพอกเข่า(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||||||||||||
รวม | 0.00 |
1 ๑.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการพอกเข่า | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ เกี่ยวกับอาการของโรคเข่าเสื่อม ๒. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อม ๓. กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินอาการโรคเข่าเสื่อมและได้รับการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 13:32 น.