กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
รหัสโครงการ 68-L5273-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดประจำตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฝีอี เบ็ญก็เด็ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2568 31 ก.ค. 2568 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มุสลิมจะมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับมัสยิดจนกระทั่งช่วงสุดท้ายของชีวิตบทบาทของมัสยิดนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว มัสยิดยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน เป็นศาลสถิตยุติธรรมเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยคดีความชั้นต้นในชุมชน เป็นสถานที่ประชุมปรึกษาปัญหาและทางออกในเรื่องราวด้านต่าง ๆ ของชุมชน การจัดกิจกรรมงานบุญงานกุศล ทั้งการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวคือการแต่งงาน กิจกรรมในวิถีชุมชนต่าง ๆ ตลอดจนเมื่อถึงสุดท้ายของชีวิตสถานที่แห่งนี้จะเป็นสุดท้ายที่เขา (ศพ) จะได้รับการละหมาดขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าก่อนที่ร่างจะถูกฝังในกูโบ (สุสาาน) ที่อยู่ใกล้ๆ กับมัสยิด บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของมัสยิด คือ การบริการการศึกษาแก่สมาชิกในชุมชนทั้งระดับพื้นฐานและวิทยาการอิสลามขั้นสูง และการจัดการเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ทัศนะอิสลาม วิชาความรู้ที่ดีงามเป็นประโยชน์ให้กับส่วนบุคล ครอบครัว และการพัฒนาสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมทุกคนต้องไขว่คว้าและเรียนรู้ มัสยิดจึงเป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชน อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่จะปฏิบัติศาสนกิจนั้นต้องทำการชำระร่างกายให้สะอาด และจำเป็นที่จะต้องชำระมลทินทั้งสองฝ่าย คือทั้งภายนอกและภายในให้หมดไป ทรงกล่าวไว้ว่า "ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา" องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติศาสนกิจที่สมบูรณ์ก็คือการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ปฏืบัติศาสนกิจได้มีน้ำใช้ที่สะอาด มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลถูกหลักสุขาภิบาลที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน หรือทำความสกปรกแก่ผู้ปฏิบัติ่ศาสนกิจ ในการแก้ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม ่จะบังเกิดผลสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนเป็นสำคัญ เพราะการแก้ไขปัญบหาอนามัยสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับปฏิบัติตนของประชาชน ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกผ่านสถานที่ที่สำคัญให้ประชาชนได้ร่วมดูแลรักษาซึ่งตรงกับคำสอนของอิสลามที่ท่านศาลดามุฮัมมัด ทรงกล่าวว่า "ผู้ใดผูกพันอยู่กับมัสยิด อัลเลาะห์ ศุบหฯ จะทรงผูกพันอยู่กับเขา" ดังนั้น คณะกรรมการมัสยิดประจำตำบลฉลุง (หมู่ที่ 1,2,7) จึงได้จัดทำโครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง เพื่อพัฒนามัสยิดให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อม ที่ถูกสุขลักษณะ ที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และเกิดความตระหนักเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

ประชาชน ร้อยละ 80 ได้ัรับความรู้และเกิดความตระหนักเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

2 ข้อ 2.เพื่้อให้ศาสนาสถานทางศาสนาอิสลาม คือ มัสยิด เป็นสถานที่สะอาด ปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ

ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่อประชาชนที่มาใช้สถานที่มัสยิด ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 อบรมความรู้เกี่ยวกับมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 100 25,300.00 -
20 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 การรณรงค์ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม 90 4,700.00 -
รวม 190 30,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มัสยิดจะเป็นแหล่งที่มีการสร้างสุขภาวะที่ดีภายใต้การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง 2.ประชาชนที่มาใชว้บริการมัสยิดมีพฤติกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี 3.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2568 14:12 น.