โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L1521-01-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่ |
วันที่อนุมัติ | 21 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,430.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชาติชาย สุทธิธรรมานนท์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.744,99.326place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2568 | 31 พ.ค. 2568 | 14,430.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,430.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแนวโน้มว่าเป็น ปัญหาในอนาคต เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตาย และการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกส่งผล ต่อสุขภาพผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและสังคม ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการ ระบาดมากช่วงหน้าฝน โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดปีเว้น 2 ปี แต่ปัจจุบัน พบมีการะบาด ทุกปี การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือบูรณาการจาก ประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังอย่างโรคอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง จากการศึกษาสาเหตุที่สำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ประสบ ความสำเร็จ คือ ประชาชนขาดความตระหนัก และขาดความเอาใจใส่ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและ กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง หากปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการแก้ไข เร่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และสนับสนุนการมี ส่วนร่วมในการป้องกันโรคในชุมชนอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและผลกระทบด้านสุขภาพต่อ ประชาชนในชุมชนลดลง ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีสุขภาวะที่ดี
สถานการณโรคไขเลือดออก ประเทศไทย ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2567 (ขอมูลจากระบบรายงานการเฝาระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผูปวยโรคไขเลือดออก (Dengue fever : DF ,Dengue hemorrhagic fever : DHF ,Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 105,801 ราย คิดเปนอัตราปวย 162.99 ตอประชากรแสนคน มีรายงานผูปวยเสียชีวิต จำนวน 86 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.13 ตอประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08
สำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 14,506 ราย คิดเปนอัตราปวย 291.97 ตอประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 12 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.24 ตอประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08 (จังหวัดตรังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต) สำหรับสถานการณในพื้นที่จังหวัดตรัง ขอมูลเฝาระวังโรคไขเลือดออก ในจังหวัดตรัง ขอมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 (ข้อมูลจากกลุมงานควบคุมโรคติดตอ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา) จังหวัดตรัง พบผู้ป่วย 1,307 ราย คิดเปนอัตราปวย 205.38 ตอประชากรแสนคน อำเภอที่มีอัตราปวยสูงสุด คือ อำเภอย่านตาขาว จำนวน 235 ราย คิดเปนอัตราปวย 366.97 ตอประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอเมืองตรัง จำนวน 547 ราย คิดเปนอัตราปวย 355.54 ตอประชากรแสนคน และ อำเภอนาโยง จำนวน 115 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 257.89 ต่อประชากรแสนคน อำเภอสิเกา มีอัตราป่วยอยู่ในลำดับที่9 จำนวน 34 ราย คิดเปนอัตราปวย 88.85 ตอประชากรแสนคน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยเสี่ยงของภัยสุขภาพดังกล่าว จึงได้ จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ ป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออก ประจำปี2568 ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ รวมถึง การสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดี ลดอัตราป่วยด้วย โรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความรู้ในการดูแลตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส. (อาหาร, อารมณ์, ออกกำลังกาย, ลดบุหรี่, ลดสุรา)
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความรู้ในการดูแลตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส. (อาหาร, อารมณ์, ออกกำลังกาย, ลดบุหรี่, ลดสุรา) |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 ก.พ. 68 - 14 ก.ย. 68 | 1.สำรวจจำนวนหลังคาเรือน 2.จัดทำ “โครงการส่งเสริมความรู้ 3.จัดทำแผนปฏิบัติงานในการดำเนินงาน 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ | 30.00 | 14,430.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๑. แกนนำสุขภาพประจำรพ.สต.มีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชนเพิ่มขึ้น ๒.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงจากปี 2567 ๓.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อเพิ่มขึ้น ๔.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๕.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัดและส่วนราชการอื่นๆ ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด (ค่า HI , CI ≤ร้อยละ 5
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2568 14:06 น.