กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ
รหัสโครงการ 68-L1521-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 6,757.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาติชาย สุทธิธรรมมานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2568 30 ก.ย. 2568 6,757.00
รวมงบประมาณ 6,757.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 76 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลรายงานของระบบ HDC กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี 2562 - 2564 สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เขตสุขภาพที่ 12 พบมีประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2562 มีจำนวน ผู้สูงอายุ 585,688 คน คิดเป็นร้อยละ 14.7 , ปี 2563 มีจำนวนผู้สูงอายุ 606,244 คน คิดเป็นร้อยละ 15.2 และ ปี 2564 มีจำนวนผู้สูงอายุ632,558 คน คิดเป็นร้อยละ 15.7 และเมื่อจำแนกข้อมูลสัดส่วนประชากรสูงอายุเป็น รายจังหวัด พบว่าทุกจังหวัดมีแนวโน้มสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยจังหวัดที่มี สัดส่วนประชากรสูงอายุสูงที่สุด และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายความว่ามีสัดส่วน ประชากรสูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 คือ จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 22.1 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดตรัง ร้อยละ 18.6 และจังหวัดสงขลา ร้อยละ 17.6 ตามลำดับข้อมูลการประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ เขต สุขภาพที่ 12 พบว่า สัดส่วนประชากรสูงอายุ กลุ่มติดสังคม และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (กลุ่มติดบ้านและกลุ่ม ติดเตียง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อจำแนกรายจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเช่นเดียวกับระดับ เขต ในส่วนของจังหวัดตรังกลุ่มติดสังคมมีแนวโน้มลดลง ปี 2562-2564 ร้อยละ96.1 , 95.5 , 97 ตามลำดับ กลุ่มติดบ้านและติดเตียงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 , 4.4 , 2.9 ตามลำดับ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
18 ก.พ. 68 1.ประชุมวางแผน .จัดทําโครงการเพื่อขออนุมัติ 3. ประชาสัมพันธ์ 4. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย . ประสานวิทยากร 76 6,757.00 -
รวม 76 6,757.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีของทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม       2.ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรม มีการพบปะพูดคุยมีกำลังใจ สร้างความรัก ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ที่ดี
        ระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข       3.แกนนำผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้สูงอายุรายอื่น ให้
        มองเห็นคุณค่า ประโยชน์ของการได้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุที่ติดบ้านอยากออกมา
        พบปะเพื่อนวัยเดียวกัน ลดความเครียด คลายความเหงา และมีความสุข มองเห็นคุณค่าของตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2568 14:29 น.