กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการรวมพลังชาวตลาดและแผงจำหน่ายอาหารสดเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ต้านภัยการปนเปื้อนยาและสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยและไม่สมเหตุผลในอาหาร จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 1)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชาวตลาดและแผงจำหน่ายอาหารสดเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ต้านภัยการปนเปื้อนยาและสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยและไม่สมเหตุผลในอาหาร จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 68-L7884-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 124,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดุษฎี ธรรมเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข โดย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยให้ทุกจังหวัดบริหารจัดการระบบสุขภาพด้านการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในหน่วยบริการภาครัฐ เอกชน และดูแลสุขภาพในชุมชน เพื่อให้หน่วยบริการสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) มุ่งสู่เป้าหมายประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความเข้มแข็งสามารถดูแลตนเองอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ   จังหวัดปัตตานีได้ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านยาในสถานบริการสาธารณสุข ตามมาตรฐานด้านต่างๆ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล สถานศึกษา คลินิกเอกชน ร้านยา ตลาดและร้ายค้า/ร้านชำในชุมชน เพื่อให้มีการสั่งใช้ยา การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและเหมาะสม ลดความเสี่ยงจากการแพ้ยาซ้ำ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Health Literacy) แก่ผู้ป่วย ผู้บริโภค ในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์ฯ ประชาสัมพันธ์ช่องทางการสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ฯ และใช้สิทธิผู้บริโภคในรายงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เมื่อสงสัยว่าผลิตภัณฑ์นัั้นไม่ปลอดภัย โดยมีกระบวนการที่สำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับจังหวัด อำเภอ และชุมชน ในการร่วมมือเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เกิดความเชื่อมโยงด้านข้อมูล ลดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาที่ส่งต่อสุขภาพของผู้ป่วย ผู้บริโภค และประชาสัมพันธ์สร้างความรู้/ความเข้าใจแก่ประชาชน จากผลการดำเนินงาน ปี 2567 ด้านส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดอำเภอ RDU มีอำเภอที่ผ่านเกรฑ์ RDU District จำนวน 8 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 66.67 และมีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ทั้งหมด 130 แห่ง ไปยังองค์กรบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ผลการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (RI) และโรคท้องเสียเฉียบพลัน (AD) ใน รพ.สต.มีอำเภอที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คือ อำเภอปะนาเระ (ร้อยละ60) ,อำเภอสายบุรี (ร้อยละ 66.67) และอำเภอมายอ (ร้อยละ 78.57)
  ในปีงบประมาณ 2568 จังหวัดปัตตานีกำหนดเป้าหมายการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ประเด็นหนึ่ง คือ อาหารไม่มีการปอมปลน หรือปนเปื้อนยาหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย จากข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขจังกวัด เทศบาลเมืองปัตตานี สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี ปศุสัตว์จังหวัด เกษตรจังหวัด และประมงจังหวัด ยังคงพบปัญหาการปนเปื้อนยาและสารฆ่าแมลง หรือสารเคมีที่อันตราายในอาหารสดหรืออาหารแปรรูปมาอย่างยาวนาน ข้อมูลรายงานผลการตรวจเฝ้าระวังสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัว เนื้อหมู และสารฆ่าแมลงในพืชผัก ผลไม้ ปี 2565-2567 โดยสุ่มตัวอย่างเก็บจากตลาดในทุกอำเภอ ชนิดของอาหารที่สุ่มคัดเลือดจากข้อมูลของชนิดอาหารที่มีการตรวจที่มักพบว่า ไม่ผ่านมาตราฐานโดยสรุป คือ 1.ยังคงพบปลอมปนสารเร่งเนื้อแดง (ยา Salbutamol) ที่ห้ามใส่ในเนื้อหมู เนื้อวัว แม้ว่ามีแนวโน้มลดลง ซึ่งปี 2567 ตรวจพบสารเร่งเนื้อแดง คิดเป็นร้อยละ 13.24 (พบ 9 ตย. จาก 68 ตย.) โดยพบในเนื้อวัว ร้อยละ 12.07 (8 ตย. จาก 36 ตย.) พบในเนื้อหมู ร้อยละ 20 (1 ตย. จาก 5 ตย.) 2. ยังคงพบการปนเปื้อนสารฆ่าแมลง (เกินมาตรฐาน) มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2566 ชนิดของพืชที่พบมาก 5 อันดับ คือ กระเทียม พริกสด ผักกาดขาว กะหล่ำปลี และกะหล่ำดอก ตามลำดับ ซึ่งมีการติดตามตรวจสอบซ้ำ (ในผู้ขายที่ไม่ผ่านมาตรฐาน) ส่งคืนผลตรวจไปยังสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่รับผืดชอบ เพื่อแจ้งผู้ขายให้เปลี่ยนเจ้าและขอข้อมูล ต้นทางผู้จำหน่ายในการตามรอยและเก็บตัวอย่างตรวจซ้ำ ประสานข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกร ปศุสัตว์เทศบาล ในพัฒนาและการกำกับติดตามสถานที่ต้นเหตุ แต่ยังไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ขายอาหารสดในตลาดเพื่อให้การเฝ้าระวัง ควบคุม กำกับเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แก้ไขปัญหาประเด็น การปลอมปนหรือการปนเปื้อน ยาและสารเคมีอันตรายในอาหารที่จำหน่ายในตลาด แผงจำหน่ายอาหารสดบนทางเท้าในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ และมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิต แปรรุป หรือผู้จำหน่าย รวมถึงผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการ รวมพลังชาวตลาดและแผงจำหน่ายอาหารสดเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ต้านภัยการปนเปื้อนยาและสารเคมีที่ไม่สมเหตุผลในอาหาร จังหงวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2658

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อบูรณการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตามแผนพัฒนา RDU จังหวัดปัตตานี 2568-2570 2. เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล จากการปลอมปนหรือปนเปื้อนของยา (สารเร่งเนื้อแดง) สารฆ่าแมลงและสี ที่ส่งผลต่อสุขภาพตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้จำหน่าย 3. เพื่อสร้างและพัฒนาทีมตรวจตาความปลอดภัยในตลาดและแผงจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 4. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านยาที่สมเหตุผลและสร้างความตระหนักในการปฎิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้จำหน่ายและผู้บริโภค (HL) 5. เพื่อสร้างชุดความรู้ เข้าใจง่าย เผยแพร่ในกลุ่มเป้าหมายผ้านช่องทางมี่เข้าถึงได้
  1. มีแผนปฎิบัติการบูรณาการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันในการแก้ปัญหาการปนเปื้อนยา สารเคมีในอาหารที่สด อาหารแปรรุป
  2. ร้อยละ 80 ของอาหารกลุ่มเป้าหมายที่รับการตรวจสอบการปนเปื้อนอยู่ในเกณฑ์กำหนด
  3. มีทีมเครือข่ายดูแลความปลอดภัยและผผ่านการอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. มีกิจกรรมที่สร้างความรู้หรือความเข้าใจให้กับผู้จำหน่ายผู้บริโภคอย่างน้อย 1 กิจกรรมในทุกไตมาส
2

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อบูรณการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตามแผนพัฒนา RDU จังหวัดปัตตานี 2568-2570 2. เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล จากการปลอมปนหรือปนเปื้อนของยา (สารเร่งเนื้อแดง) สารฆ่าแมลงและสี ที่ส่งผลต่อสุขภาพตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้จำหน่าย 3. เพื่อสร้างและพัฒนาทีมตรวจตาความปลอดภัยในตลาดและแผงจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 4. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านยาที่สมเหตุผลและสร้างความตระหนักในการปฎิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้จำหน่ายและผู้บริโภค (HL) 5. เพื่อสร้างชุดความรู้ เข้าใจง่าย เผยแพร่ในกลุ่มเป้าหมายผ้านช่องทางมี่เข้าถึงได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 :

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี 2.ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ ความเสี่ยงการปลอมปน/ปนเปื้อน สารเร่งเนื้อแดง สารฆ่าแมลง สีอันตรายในอาหารสด สัตว์บก สัตว์น้ำ แนวทางการดำเนินงาน : ประสานข้อมูลกับเทศบาลเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อมูลชพื้นฐานผู้ประกอบการ กำหนดจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการประชุมออกแบบการดำเนินงาน
  2. ระดมสมองเพื่อออกแบบสร้างความปลอดภัยของอาหารในการดูแล กำกับ ตรวจสอบ และรายงานร่วมกับหน่วยงาน RDU จังหวัด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวทางดำเนินงาน : สสจ.ปัตตานี ประสานกลุ่มเป้าหมายการประชุม ได้แก่ ผู้รับผิดชอบจากเทศบาลเมืองปัตตานี ท้องถิ่นจังหวัด หน่วยงานในคณะกรรมการ RDU จังหวัด ผู้แทนผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่ขาย เนื้อวัว / เนื้อหมู/ ผักชนิดที่มีรายงานที่ตกมาตรฐานสูง/ผลไม้นำเข้า/ไก่สีส้ม/กุ้งแห้งสีจัด เชิญประชุมเพื่อวางแผนและออกแบบความร่วมมือการดูแลและกำกับติดตาม ตั้งแต่ต้มน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการบันทึกข้อมูลที่มาของอาหารที่นำมาขาย การรายงานผลข้อมูลด้านต่างๆ เป็นต้น 4.อบรมสร้างความรร่วมมือและให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในและนอกตลาดเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อให้ดำเนินงานร่วมกับภาครัฐในการดำเนินโครงการให้เกิดความปลอดภัย แนวทางดำเนินงาน : ดองสาธารณสุขเทศบาลเมืองปัตตานี ประสานเชิญกลุ่มผู้ขายที่เป็นเป้าหมายในตลาดและแผงนอกตลาด และ สสจ. ประสานเชิญเจ้าหน้าที่/เครือข่าย
  3. ประชุมเชิงปฎิบัติการจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพทีมตรวจตราอาหาร แนวทางการดำเนินงาน : กองสาธารณสุขเทศบาลเมือง ประสานและคัดเลือกผู้นำ/แนนำ/ผู้แทน ผู้จำหน่าย ร่วมกับ อสม.เทศบาล และเครือข่ายสมาคมผู้บริโภค จำนวน 2 ทีมๆ ละ 10 คน และประชุมพัฒนาศักยภาพทีมตรวจในการให้คำแนะนำและตรวจสอบความปลอดภัยในอาหารด้วยชุดทดสอบหรือสื่อความรู้ที่เข้าใจง่าย วางเป้าหมาย และกำหนดแผนการตรวจเฝ้าระวังและรายงานผล
  4. สุ่มตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kits) หรือส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทย์ฯสงขลา (Lab) คืนข้อมูล และบันทึกผลสมุดประจำแผง แนวทางการดำเนินงาน : กองสาธารณสุขเทศบาลเมือง ทีมตรวจตรา และ สสจ.ดำเนินการสุ่มตัวอย่างอาหารไปตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kits) หรือ สสจ. ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) ขึ้นกับประเภทอาหาร เมื่อผลตรวจออกคืนข้อมูลแก่ผู้ขาย บันทึกผลในสมุดประจำแผง ให้คำแนะนำ คำชื่นชน หรือแนะนำตักเตือนให้ปรับปรุงกรณีที่พบไม่ได้มาตราฐาน ไม่ปลอดภัย สสจ.ดำเนินการซื้อวัสดุ ได้แก่ชุดทดสอบ ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง ส่งตัวอย่างตรวจสี ไปห้อง Lab เพื่อตรวจสีในอาหาร
  5. บังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการที่กระทำผิดซ้ำๆ แนวทางการดำเนินงาน : หน่วยงานที่ดูแลกฎหมาย พิจารณาข้อมูลและทดสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการกระทำผิดซ้ำๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักและรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  6. ตรวจติดตามและประชุมสรุปผลการตรวจเฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียน แนวทางการดำเนินงาน : กองสาธารณสุขเทศบาลเมือง สสจ. และสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดตรวจเฝ้าระวังสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย และประชุมสรุปผลการตรวจนำสู้การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และจัดให้มีช่องทางให้ผู้บริโภคได้แจ้งเบาะแสหรือแจ้งความเสี่ยงที่พบจากแผงจำหน่ายในและนอกตลาดเทศบาล
  7. สร้างความรอบรู้และความร่วมมือของผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค
    แนวทางการดำเนินงาน : สสจ. กองสาธารณสุขเทศบาล ร่วมกับ คณะอนุกรรมการสร้างความรอบรู้ RDU (RDU literacy) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น ปัญหาที่พบบ่อย/ความเสี่ยงที่เกิด/อันตรายต่อผู้บริโภค/วิธีเลือกซื้อ วิธีบริโภคที่ปลอดภัย ณ ตลาดสด เป็นต้น ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเทศบาลเมืองและเครือข่ายใช้ประชาสัมพันธ์ที่ตลาดและช่องทางของหน่วยงานเพื่อขยายผลให้กว้างขวาง
  8. เสริมพลังความร่วมมือแก่ผู้ประกอบการและทีมเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานที่ส่งเสริมและสร้างความปลอดภัย แนวทางการดำเนินงาน : สสจ.ปัตตานี ร่วมกับกองสาธารณสุขเทศบาลเมือง ประชาสัมพันธ์จังหวักปัตตานี จัดทำป้าย เกียรติบัตร สมุดประจำแผงขาย คลิปสั้น เป็ฯต้น เพื่อมอบให้กับเครือข่ายและผู้ประกอยการเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานหรือการพัฒนาตามมารตฐาน
  9. สรุปผลและรายงานผลต่อคณะกรรมการ RDU จังหวัด แนวทางการดำเนินงาน : สสจ. ร่วมกับ กองสาธารณสุขเทศบาล จัดเก็บข้อมูล นำมาสรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะ และรายงานต่อคณะกรรมการ RDU จังหวัด
  10. ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ แนวทางการดำเนินงาน : สสจ. ร่วมกับ สาธารณสุขเทศบาลเมือง จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านค้าและแผงจำหน่ายอาหารสดให้ความร่วมมือและตระหนักถึงอันตรายของยาหรือสารเคมีที่ตกค้างในอาหาร
  2. อาหารสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่จำหน่ายผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
  3. ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในอาหารที่จำหน่ายในตลาดสด แผงจำหน่ายในตลาดสด แผงจำหน่ายนอกตลาดในเขตเทศบาลและปลอดภัยจากการนำไปบริโภคในชีวิตประจำวัน
  4. มีเครือข่ายในตลาดที่ร่วมกันดูแลและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอันตรายจากการจำหน่ายและบริโภคอาหารที่มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2568 16:00 น.