กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลทุ่งคล้า
รหัสโครงการ 68-L3054-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 25,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกิ่งกมล ชูพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกได้ลดลงและลดลงมากในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรงในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งหลังจากสถานการณ์ COVID-19 ลดลงและเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรต่างๆมีการเดินทางมากขึ้นพบเริ่มมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกกลับมาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ทั้งในระดับประเทศ เขตสุขภาพที่ 12 ในระดับจังหวัดปัตตานีและในพื้นที่อำเภอสายบุรี โดยในปี 2567 พบมีการระบาดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นมา อำเภอสายบุรีพบอัตราป่วย 2๓๘.๔๓ ต่อแสนประชากร และพบผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย อยู่ในลำดับที่ 3 ของจังหวัดปัตตานี (รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี) ในปี 2567 ตำบลทุ่งคล้า พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๑๗.๙๘ ต่อแสนประชากร จากการคาดการณ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบว่าจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่มีฤดูฝน หากไม่สามารถป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกให้สงบได้จะพบผู้ป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก เชิงรุกและมีความต่อเนื่องและการกำจัดลูกน้ำยุงลายตามแหล่งเพาะพันธ์ในสถานที่ต่างๆ ได้แก่บริเวณบ้านเรือนในชุมชน โรงเรียน โรงแรม ศาสนสถาน โรงงานและสถานที่ราชการ และที่ขาดไม่ได้คือการเตรียมความพร้อมทรัพยากรในการควบคุมโรครวมถึงการสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว เปลี่ยนจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการ ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งคล้า โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดการระบาดและอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกโครงการจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลทุ่งคล้าด้วยมาตรการ 3-3-1 และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ส่งผลให้อัตราป่วยลดลงและช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนโครงการจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน อสม. โรงเรียน ศาสนสถาน และเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความตื่นตัวต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2568 16:11 น.