กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รหัสโครงการ 2538-L4135-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ 6 บ้านบูเกะคละ
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 18,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอดียะ สะละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1065 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( NCDs ) เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมที่ดำเนินการ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลงพุง ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งความสูญเสีย ทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดโรคคือ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหาร โดยการรับประทานอาหารเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่เป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโรคดังกล่าว ในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ 6 บ้านบูเกะคละ มีครัวเรือน 380 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,577 คนแบ่งเป็นชาย 765 คน หญิง 812 คน พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี พ.ศ. 2567 สูงขึ้น ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 116 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 36 คน หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาสการเกิดโรคเรื้อรัง ชมรม อสม.หมู่ 6 บ้านบ้านบูเกะคละ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยและช่วยป้องกันโรค ให้ประชาชนในพื้นที่ ให้มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน

ร้อยละ 80 ของ ประชาชนอายุ 35 ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ

0.00
2 ข้อที่ 2 ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมติดตามตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ทุกเดือน 0 10,000.00 -
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน 0 8,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ ทุกเดือน
  2. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 00:00 น.