กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปี 2568
รหัสโครงการ 2568-L4135-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)…ม.8…ต.บุดี
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 17,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซัยนับ โตะมะเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายในรายที่ป่วยแล้วได้รับการตรวจประเมินภาวะโรคอันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรค ดังนั้น ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุกเร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนืองยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านบุดีฮิเลร์ มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน ...702....คน อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน ..21... คน และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านบุดีฮีเลร์ หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ในหลายปีที่ผ่านมา อสม.หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสุงให้แก่ประชากร 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลบุดีเป็นประจำทุกปีเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วย และในปัจจุบันนี้ ชมรมอสม.ของหมู่บ้านมีอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น คือ เครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งมีไม่เพียงพอเนื่องจากเครื่องมือที่มีอยู่เดิมเกิดการชำรุด เสียหายจากอายุการใช้งานหลายปี อีกทั้งจำนวน อสม.ที่เพิ่มขึ้นและครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ไม่มีความคล่องตัว ดังนั้น ชมรม อสม.หมู่ที่ 8 บ้านบุดีฮีเลร์ จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปี 2568 เพื่อรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ขึ้นโดยการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านบุดีฮีเลร์ ตำบลบุดี รวมทั้งใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ และ โรคอื่นๆ ในพื้นที่และจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ห่างไกลโรคเรื้อรัง ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้นำความรู้การดูแลสุขภาพสามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,650.00 0 0.00
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการคัดกรองตรวจสุขภาพในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 0 7,400.00 -
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.และคัดกรองตรวจสุขภาพความดันโลหิตและเบาหวานในประชาชน หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองจังหวัดยะลา อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน 0 10,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพประจำปี 2.ประชาชนได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 00:00 น.