กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L4145-05-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.หมู่ที่ 4 บ้านเจาะตาแม
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะมะแอ จินตรา
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2568 30 ก.ย. 2568 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานทางระบาดวิทยาของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ข้อมูล ณ วันที่ 11 กันยายน 2567 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2567 พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวน 98,946 ราย เสียชีวิต 83 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 116.04 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 และในจังหวัดยะลา มีรายงาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 6,985 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิต 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 10.04 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09 จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลย้อนหลังของโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2556 มีผู้ป่วย 6 ราย อัตราป่วย 127.93 ต่อแสน ประชากร ปีพ.ศ.2557 มีผู้ป่วย 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.89 ต่อแสน โดยหลักวิทยาการระบาดของโรคไข้เลือดออก พบว่าในชุมชนใดไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 1-2 ปี ถ้าเกิดการระบาดของโรคจะมีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากการทำประชาคม เรื่องที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพและประชาชนต้องการการแก้ไขปัญหามาก ที่สุดคือ ปัญหาโรคไข้เลือดออก เนื่องจากประชาชนพบว่ามีความชุกของลูกน้ำยุงลายอยู่ ซึ่งถ้ายังมีลูกน้ำยุงลายก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก และจากการสำรวจชุมชนพบว่าภายในชุมชนมี สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่เหมาะสม บางครัวเรือนจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ ทิ้งขยะไม่ถูกที่ และภาชนะรองน้ำไม่มีฝาปิดมิดชิด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรม SRRT และชุมชนเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาตอง จึงได้จัดทำโครงการ“เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย” เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายและ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนใน ชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและการจัดการสภาพแวดล้อม ขยะมูลฝอย บริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาดถูกสุขลักษณะด้วยหลัก 5 ส. 3 ก.

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดร้อยละ 90

ร้อยละ 90

80.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดที่ถูกต้องร้อยละ 90

ร้อยละ 90

80.00
3 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 ขั้นเตรียมการ(13 ก.พ. 2568-13 ก.พ. 2568) 0.00                
2 ขั้นดำเนินการ(1 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 30,000.00                
3 5. ดำเนินกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก(1 มี.ค. 2568-1 ก.ย. 2568) 0.00                
รวม 30,000.00
1 ขั้นเตรียมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
2 ขั้นดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 30,000.00 0 0.00 30,000.00
13 ก.พ. 68 ขั้นดำเนินการ 60 30,000.00 - -
3 5. ดำเนินกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 60 30,000.00 0 0.00 30,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้หลังการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 90
  2. ประชาชนมีพฤติกรรมหลังการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 4. ค่าเฉลี่ยจากการสำรวจค่า HI ,BI ,CI ในหมู่ที่ 2,4,6 ตำบลกาตอง หลังเสร็จสิ้นโครงการน้อยกว่าก่อนเริ่ม โครงการโดย HI≤10 ,BI≤50 ,CI=0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2568 03:56 น.