โครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้ทันภัยยาเสพติด ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้ทันภัยยาเสพติด ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L4135-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี |
วันที่อนุมัติ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 33,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอะหมัดลุตฟี กามา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันสถาณการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือ ผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ เกิดบรรยากาศภายในครอบครัวที่อบอุ่น ผู้ปกครองและเยาวชนต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติด จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อให้ความรู้แก่ เด็ก และเยาวชน ให้เกิดความเข้าใจและเสริมทักษะการป้องกันภัยยาเสพติดในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เกิดบรรยากาศที่อบอุ่นภายในครอบครัว เพื่อให้สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดให้กับเด็กและเยาวชน เป็นเกราะที่แข็งแรงที่จะปกป้องลูกหลานจากภัยยาเสพติดที่สำคัญยิ่งต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้ในเด็กและเยาวชนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านบุดี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้ 1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการป้องกันภัยยาเสพติด บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีทักษะในการป้องกันภัยยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าในครอบครัว
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 33,300.00 | 0 | 0.00 | |
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องทักษะการป้องกันตนเองจากภัยยาเสพติด บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า (ตามกำหนดการอบรม) แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา จำนวน 70 คน และโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา จำนวน 70 คน | 0 | 33,300.00 | - |
. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านบุดี ไม่ติดยาเสพติด บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 00:00 น.