กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ไวป้องกันได้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง ปี 2568
รหัสโครงการ 2568-L4135-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอะหมัดลุตฟี กามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น มี 3 ประการดังนี้ คือ เป็นสาเหตุการตายในผู้หญิงเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทยสถานการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย และโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 35 - 50 ปีซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการตรวจคัดกรอมะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาผู้ป่วย และสามารถเข้ารับการรักษาทันเวลา และถูกวิธี โดยเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการทั้งข้อมูลข่าวสาร การใช้บริการตรวจคัดกรอง (ทั้งวิธี VIA และ PAP’s smear)
การดำเนินงานป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในปีที่ผ่านมา พบประเด็นที่ต้องพัฒนา คือ ผลการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความกลัวเจ็บ รับไม่ได้ถ้าหากรู้ว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งจริงๆคิดว่าไม่เป็นโรค ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค และมีความอายในการมาตรวจกับเจ้าหน้าที่รู้จักกัน ในรายที่ตรวจที่คลินิกเอกชนก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด นอกจากนี้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ยิ่งทำให้การดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องที่มีมิติทางความรู้สึกที่ซับซ้อนมาก ดังนั้น การดำเนินงานด้านสุขภาวะในพื้นที่ จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะในสตรีมุสลิม ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท. ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ลงวันที่ 19 ก.พ.2557 ข้อ 7 กำหนดโครงการนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 7 (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพแก่กลุ่มหญิงอายุ 30 – 60 ปี สารมารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ผลงานสะสมในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2563 – 2567ของกลุ่มเป้าหมายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีจำนวน 849 คน ตรวจคัดกรองได้168คน คิดเป็นร้อยละ19.78 ซึ่งการดำเนินงานโครงการมะเร็งปากมดลูกดังกล่าว ยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักถึงโทษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูกและยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเท่าที่ควร โดยผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองก็จะเป็นผู้ที่เข้ารับการอบรมเป็นสวนใหญ่ซึ่งต้องต้องเร่งรัดให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรี จึงได้จัดทำโครงการรู้ไวป้องกันได้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง ปี 2568

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 สตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้เรื่องอันตรายจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  1. ร้อยละ 80 สตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
0.00
2 ข้อที่ 2 สตรีอายุ 30 - 60 ปี มีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  1. ร้อยละ 80 ผู้ได้รับการอบรมได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
0.00
3 ข้อที่ 3 สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปาก มดลูกสตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

3.ร้อยละ 100 สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,000.00 0 0.00 33,000.00
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 1. อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่/2.ทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการอบรม - เรื่องความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ 0 20,500.00 - -
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 3.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มสตรีอายุ 30 - 60 ปี ทั้งเชิงรับและเชิงรุก จำนวน 100 คน 0 12,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 33,000.00 0 0.00 33,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เรื่องอันตรายจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80 2.ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมร้อยละ 80 3. ร้อยละ 100 ของสตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 00:00 น.