กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 68-L3070-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจันทิยา พัทบุรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจัสมิล มุมินรุ่งเรืองเดช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้  มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรค คือ ยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน มีการขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด
      พื้นที่ตำบลยาบี เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก และเป็นมาอย่างต่อเนื่อง จากการสอบสวนโรค ของ PCU ยาบี ในปีงบประมาณ 2567 (เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 16 ราย ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงฤดูฝนของทุกปี สาเหตุเกิดจากการขาดความตระหนักของประชาชน มีน้ำขังในภาชนะ มีขยะบริเวณรอบบ้าน การเลี้ยงนกและไก่ ส่งผลทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย
    ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรียมพร้อมในการป้องกันโรคในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดความตระหนัก สำหรับการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ต้องตัดวงจรการติดต่อของโรคอย่างทันท่วงที จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน มีมาตรฐาน การเตรียมพร้อมสำหรับวัสดุทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ ต่างๆ ให้ทันท่วงทีและเพียงพอกับการใช้งานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ กลุ่ม อสม. ตำบลยาบี ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดต่อปีลดลง 2.พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้รับการควบคุมทันเวลาตามมาตรการ
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และลดภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

8 เม.ย. 68 2.กิจกรรมเฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก 1) เคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก 2) การพ่นหมอกควัน เพื่อควบคุมการระบาด โรคไข้เลือดออก 40.00 5,000.00 -
24 เม.ย. 68 ๓.ประชุมการติดตามประเมินผลกิจกรรม และสรุปโครงการ 0.00 50.00 -
14 พ.ค. 68 1.กิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 1) สำรวจลูกน้ำยุงลาย ในเขตรับผิดชอบแต่ละหมู่ 2) Kick Off รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการคว่ำภาชนะ และใส่ทรายอะเบท 40.00 14,950.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเคมีภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคภายในชุมชนอย่างเพียงพอ
  2. มีสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพียงพอและครอบคลุมในชุมชน ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ ต่าง ๆ มากขึ้น สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ถูกวิธีและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  3. ลดการระบาดของโรคไม่ให้ขยายไปในวงกว้าง
  4. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2568 03:05 น.