โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ และดูแลหญิงหลังคลอด
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ และดูแลหญิงหลังคลอด |
รหัสโครงการ | 68 – L7889 -01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปริก |
วันที่อนุมัติ | 6 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอัมพร ศิริวัฒน์ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 72 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ด้วย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมถ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดของประเทศ
จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ของ Heath Data Center Report พบว่าอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในปี 2565 มีหญิงคลอดก่อนกำหนด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 4.61 ปี 2566 มีหญิงคลอดก่อนกำหนด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 6.33 ปี 2567 มีหญิงคลอดก่อนกำหนด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 6.84
ข้อมูลสถิติจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ย้อนหลัง 3 ปี
• ปี 2564 อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 15 - 19 ปี อยู่ที่ 25 ต่อ 1,000 ประชากร
• ปี 2563 อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 15 - 19 ปี อยู่ที่ 28.7 ต่อ 1,000 ประชากร
• ปี 2562 อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 15 - 19 ปี อยู่ที่ 31 ต่อ 1,000 ประชากร
• ปี 2564 อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี อยู่ที่ 0.9 ต่อ 1,000 ประชากร
• ปี 2563 อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี อยู่ที่ 0.81 ต่อ 1,000 ประชากร
• ปี 2562 อัตราการคลอดในกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี อยู่ที่ 0.85 ต่อ 1,000 ประชากร
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการขับเคลื่อนงาน เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้อัตราดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าวแล้ว คือในปี 2563 ตั้งเป้าว่า เด็กในช่วงอายุ 10 – 14 ปี ที่ไม่ควรมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อย่างน้อยก็ให้เหลือเพียง 0.5 ต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ส่วนในช่วงวัย 15 – 19 ปี เป้าหมายคือ 25 ต่อประชากร 1,000 คน และได้กำหนดให้มีเป้าหมายใหม่คือ ให้อัตราการตั้งครรภ์ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี อยู่ที่ 15 คน ต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ภายในปี 2570 และยังคงค่าเป้าหมาย อัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 - 14 ปี ไว้ที่ ไม่เกิน 0.5 ต่อจำนวนประชากร 1,000 คน
เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม บรรลุตามวัตถุประสงค์
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก จึงขอเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อเสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : นักเรียนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : นักเรียนของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีการตั้งครรภ์ |
0.00 | |
2 | เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์ และหญิงหลังคลอด เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด |
0.00 | |
3 | เพื่อให้หญิงหลังคลอดดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์ และหญิงหลังคลอด เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : หญิงหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการ สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 177 | 14,000.00 | 0 | 0.00 | |
6 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | มอบของเยี่ยม ไข่และนม แก่หญิงตั้งครรภ์ | 2 | 4,800.00 | - | ||
7 ก.พ. 68 | ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในโครงการ | 0 | 1,225.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 | ประชุมคณะกรรมการ (รวมคณะทำงาน จำนวน 38 คน) | 38 | 950.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 | จัดอบรม ครั้งที่ 1 เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและสุขภาพจิตในวัยรุ่น | 53 | 3,900.00 | - | ||
2 มิ.ย. 68 | จัดอบรม ครั้งที่ 2 เรื่องการคุมกำเนิด การป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด และการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอด | 84 | 3,125.00 | - |
ประชาชนเกิดการตระหนักรู้และการรับรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การลดภาวะคลอดก่อนกำหนด และการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างเหมาะสม
ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเชิงรุกในการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลตอนเองของหญิงหลังคลอดได้อย่างเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2568 14:13 น.