โครงการสะพานใจห่วงใยผู้สูงอายุติดบ้าน รพ.สต.บ้านท่าไทร
ชื่อโครงการ | โครงการสะพานใจห่วงใยผู้สูงอายุติดบ้าน รพ.สต.บ้านท่าไทร |
รหัสโครงการ | 68-L5214-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร ตำบลเกาะยอ |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 19,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางน้อมฤทัย ยังรอด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.163,100.542place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน) | 30.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่ามีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวนหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพความโดดเดี่ยว ขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการขาดแคลนการสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอ ซึ่งปัะจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในระยะยาว รวมถึงส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ต้องการการดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน ผู้สูงอายุติดบ้านในชุมชน รพ.สต. บ้านท่าไทรพบว่า 5 อันดับความต้องการหลักของผู้สูงอายุได้แก่ 1.การช่วยติดต่อให้ได้พบบุตรหลานและคนในครอบครัว 2.การได้รับการสนับสนุนด้านการเงินที่เพียงพอ 3.การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขแบบการดูแลใกล้ชิด 4.การมีโอกาสพบปะสังคมและร่วมกิจกรรมในชุมชน 5.การได้พบกับพระในขณะยังมีชีวิต การที่ผู้สูงอายุติดบ้านได้พบปะครอบครัวลูกหลานถือเป็นการสร้างสุขภาวะทางจิตใจ ลดความเหงาและความรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนี้ การสนับสนุนด้านการเงินก็มีความสำคัญเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง ขณะที่การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้อย่างสะดวกและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน และป้องกันโรคเรื้อรังหรือทุพพลภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้สูงอายุติดบ้านยังต้องการโอกาสในการพบปะเพื่อนบ้านและมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสุข ลดภาวะซึมเศร้า และช่วยให้รู้สึกเชื่อมโยงกับสังคมอย่างมีคุณค่า ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร จึงได้จัดทำโครงการ "สะพานใจห่วงใยผู้สูงอายุติดบ้าน" โดยเป้าหมายในการจัดการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ด้านสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพและการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้านทั้งในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ผ่านการดูแลและสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยดำเนินการในหมู่ที่ 5, หมู่ที่ 6, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 8, หมู่ที่ 9 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมายสำคัญเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับครอบครัว การสนับสนุนด้านการเงินที่จำเป็น การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐอย่างทั่วถึง และการสร้างเสริมสุขภาวะจิตใจผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน รวมถึงครอบคลุมความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้าน ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และความใกล้ชิดระหว่างผู้สูงอายุติดบ้านกับครอบครัว ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านมีปฏิสัมพันธ์ความใกล้ชิดระหว่างผู้สูงอายุติดบ้านกับครอบครัวช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า |
90.00 | |
2 | เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ครอบคลุมและการส่งเสริมรายได้ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุติดบ้านเข้าถึงด้านบริการสาธารณสุขที่ครอบคลุมและการส่งเสริมรายได้ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุติดบ้าน |
90.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุติดบ้าน โดยจัดให้มีการพบปะทางศาสนาและกิจกรรมชุมชนที่ช่วยสร้างความสงบสุขและจิตใจที่มั่นคง ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุติดบ้านมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุติดบ้านโดยจัดให้มีการพบปะทางศาสนาและกิจกรรมทางชุมชนที่ช่วยสร้างความสงบสุขและจิตใจที่มั่นคง |
90.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้สูงอายุติดบ้านมีความสุขและสุขภาวะทางจิตใจที่ดี จากการมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับครอบครัวและการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน 2.ผู้สูงอายุติดบ้านมีรายได้เสริมจากกิจกรรมงานฝีมือที่สอดคล้องกับศักยภาพ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีความรู้สึกมีคุณค่าและมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น 3.การทำงานร่วมกันของหน่วยงานในชุมชนและเครือข่ายภาคีช่วยเสริมสร้างการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านในระยะยาว ส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาและเข้มเเข็งอย่างยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2568 15:24 น.