โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ห่างไกลซึมเศร้า
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ห่างไกลซึมเศร้า |
รหัสโครงการ | 68-L5168-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ |
วันที่อนุมัติ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศุภนิดา เชาวลิต |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละ ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและการการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว | 120.00 | ||
2 | ร้อยละ ผู้สูงอายุสุขภาพกายและจิตดี ออกกำลังกายได้ด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและไม่เกิดอันตราย | 120.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศไทยมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aging Society) ในเขตพื้นที่ตำบลกระแสสินธุ์ มีจำนวนผู้สูงอายุ ร้อยละ 24.06 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิงหรือภาวะโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคม ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านที่กล่าวมาข้างต้น
และเนื่องด้วยในเขตเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ มีจำนวนผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก อีกทั้งอยู่ตามลำพัง เนื่องจากลูกหลานได้ออกไปทำงานต่างถิ่นฐาน การเกิดโรคต่างๆในผู้สูงอายุก็มีมากขึ้น อาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก/ตีบ โรคหัวใจ โรคในช่องปาก เหงือกร่อน เหงือกอักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ห่างไกลซึมเศร้า ขึ้นมาและจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุโดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,500.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1.กิจกรรม ละลายพฤติกรรมผู้สูงอายุ | 0 | 12,500.00 | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและการการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว 2. ผู้สูงอายุสุขภาพกายและจิตดี ออกกำลังกายได้ด้วยตนเอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.