โครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5162-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ |
วันที่อนุมัติ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 22,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฐิตาภา โนภาส |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนประชาชนกลุ่มวัยเรียนที่มีค่า BMI > 25 กก./ม จำนวน 40 คน | 40.00 | ||
2 | จำนวนผู้ปกครอง จำนวน 40 คน | 40.00 | ||
3 | จำนวนประชาชนกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็น กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดัน จำนวน 120 คน | 120.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs หรือ non communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมปัจจัยที่ทำให้ เกิดโรคคือ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ภาวะน้ำตาลใน เลือดสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การดำเนินโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ
สถานการณ์ในปัจจุบันกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งของตำบลกระแสสินธุ์ ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ (NCDs) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือเป็นวิกฤตการณ์ทางสุขภาพและสังคมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุขของประเทศไทย อีกทั้งโรคอ้วนยัง เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ ได้ดำเนินการคัดกรองเด็กเริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนวัดโตนดด้วน โรงเรียนวัดทุ่งบัว ประจำ ภาคการศึกษา ๑/๒๕๖๗ พบเด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 15.75 ซึ่งยังคงมีอัตราที่สูงและมี แนวโน้มสูงขึ้นทุกปี อีกทั้งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ ก็ยังได้ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุก็พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs หรือ non communicable diseases) แยกออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 22 และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34 ก็ยังคงมีอัตราที่สูงและมี แนวโน้มสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน
ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดุแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาศการเกิดโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพและให้บริการ รักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่ตำบลกระแสสินธุ์ ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ. เพื่อประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 22,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่1 ประเมินภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงวัดความดันโลหิต ซักประวัติโรคประจำตัว1.1 ให้ความรู้ เรื่อง โรคที่อาจเกิดขึ้นได้จากค่า BMI เกิน และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม1.2 ให้ความรู้ เรื่อง อาหารและการรับประทานอาหารตามกลุ่มวัย | 0 | 22,000.00 | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบ ค่ามัธยฐาน 3 ปีย้อนหลัง 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3. ครอบครัวชุมชน มีส่วนร่วมกิจกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.