โครงการพัฒนาการให้บริการ การแพทย์แผนไทย และส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาการให้บริการ การแพทย์แผนไทย และส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L2514-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซัซวานี หะยียะโกะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่เพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหาร รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และปัญหาต่างๆที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฎีการแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยการบริหารฤาษีดัดตตน การนวดและประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
ภูมิปัญญาด้านพืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี เนื่องจากอดีตกาลคนไทยเมื่อเกิดการ เจ็บป่วยขึ้นจะมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้นหรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านตนเอง เพื่อ บรรเทาอาการเจ็บป่วยโดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายอายุชั่วคน แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามา มีบทบาทในบ้านเรา ภูมิปัญญาความรู้ด้านการใช้ยาสมุนไพรจึงถูกลดความสำคัญลง และทำให้เยาวชนรุ่นหลังรู้จัก สมุนไพรไทยน้อยมาก และแพทย์ไม่รู้เลยทั้งที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ตัวเรานี้เอง และในบางครั้งก็มีการนำสมุนไพร มาใช้อย่างถูกวิธี ผิดโรค ทำให้ไม่เห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นจึงเลิกใช้ยาสมุนไพรไป แต่ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การนวด การอบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และยารักษาโรค การปลูก สมุนไพรเพื่อนำมาใช้เอง การใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันจากการดำเนินงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาล จากข้อมูลดังกล่าว ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลยุโป ได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในชุมชน เพื่อลดการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาลดการ อักเสบ กล้ามเนื้อและข้อฯลฯ และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการปลูกพืชสมุนไพรใช้ครัวเรือน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพและการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย มาส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแล ในพื้นที่ได้รบความรู้และฝึกทักษะต่างๆด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อนำไปดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด โครงการพัฒนาการให้บริการ การแพทย์แผนไทย และส่งเสริมการใช้สมุนพรในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านและมีการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องสมุนไพร |
80.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย |
80.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและเป็นแพทย์ทางเลือกสำหรับประชาชน ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 160 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 80 คน | 0 | 16,000.00 | - |
- เพื่อให้ผู้สูงมีความรู้ รู้จักใช้สมุนไพร และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2 .เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย - เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2568 00:00 น.