โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568 - L3309 - 2 - 1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพังกิ่ง |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมนูญ หนูทอง ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพังกิ่ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 1 2 5 6 และ 7 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 3057 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยาย้อนหลัง ๕ ปี ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังกิ่ง พบว่า ในปี พ.ศ. 2563 - 2567 มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเท่ากับ0 , 318.8 ,256.3,0,0 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปัจจัยสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกคือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI ไม่เกินร้อยละ 10) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนทั้งหมด และค่าร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (CI=0) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผล ต่อค่า HI ,CI มากที่สุด คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการและชุมชนในการดำเนินงาน รวมทั้งสร้างความตระหนักและมีการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังกิ่ง มีแนวคิดที่จะดำเนินงานเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ในหมู่ที่ 1 ,2,5,6และ7 ตำบลสมหวัง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2568 ขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชน และเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดเหลือ ไม่เกินร้อยละ 90 ต่อแสนประชากร |
40.00 | 30.00 |
2 | เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ค่า HI < 10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และ CI = 0 |
30.00 | 20.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมก่อนการระบาด | 0 | 9,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมช่วงระบาด | 0 | 2,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมหลังเกิดโรค | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 11,000.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกได้
- อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงและไม่มีอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2568 14:59 น.