ส่งเสริมโภชนาการเฝ้าระวังNCDs โคกดีปลี ปี 68
ชื่อโครงการ | ส่งเสริมโภชนาการเฝ้าระวังNCDs โคกดีปลี ปี 68 |
รหัสโครงการ | 68-L3065-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.3 ต.ตุยง |
วันที่อนุมัติ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 22,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอุษา เทียมแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายแวอูเซ็ง แวสาและ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 13.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 21.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างการ เช่น ตา ไต หลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ปัจจุบันการใช้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อความอยู่รอดให้ทันต่อสถานการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนจำเป็นจะต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้มีความเหมาะสมทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนอง ครอบครัว และชุมชนได้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน สอดคล้องกับนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยให้ประชาชนห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยการส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอีกด้วย
จากข้อมูลการคัดกรองโรคโดยชมรม อสม.ร่วมกับรพ.หนองจิก ตั้งแต่ปี 2565 – 2567 พบว่าร้อยละของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันและเบาหวาน ในปี 2565 ร้อยละ 7 และ 1.4ปี 2566 ร้อยละ 9 และ 1.8 ปี 2567 ร้อยละ 9.53 และ 1.92 ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโคกดีปลี หมู่ที่ 3 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เห็นควรที่จะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังโรค อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการคัดกรองโรคที่จะเกิดขึ้นและนำกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิบัติตัว และเข้าสู่ระบบการส่งต่ออย่างทันท่วงที จึงได้ทำโครงการส่งเสริมโภชนาการเฝ้าระวังNCDs โคกดีปลี ปี 68 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปปฏิบัติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ ร้อยละ 70 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 70 |
100.00 | 70.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ทัศนคติ ในการจัดการสุขภาพของตนเองตามวิถีชุมชน ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้การดูแลสุขภาพ |
100.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | พัฒนาเครือข่าย | 0 | 0.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 | คัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกเบื้องต้น | 0 | 8,500.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การติดตามเยี่ยมบ้าน | 0 | 0.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การส่งต่อ | 0 | 0.00 | - | ||
1 - 31 พ.ค. 68 | จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | 0 | 9,500.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน | 0 | 4,750.00 | - | ||
รวม | 0 | 22,750.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
- เกิดการพัฒนาการดำเนินงานปิงปอง 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ในประชาชนทั่วไป
- ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2568 00:00 น.