โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้มในกลุ่มเสี่ยง
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้มในกลุ่มเสี่ยง |
รหัสโครงการ | 68-L4150-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรียะห์ ดอเล๊าะเซ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โครงสร้างด้านประชากรของประเทศไทยเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged society) ตั้งแต่ ปี 2548 คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง ร้อยละ 10 และตามการคาดประมาณประชากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด สถิติอัตราการเกิดอุบัติการณ์เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้ทวีความรุนแรงและ มีแนวโน้มสูงขึ้น จากข้อมูลมรณบัตร 6 ปีย้อนหลัง (2558-2562) ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ โดย กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค เผยแพร่ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2564 จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม (W00-W19) ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรแสนคน ในส่วนภาพรวมทั้งประเทศพบอัตราร้อยละ 11.1, 9.00, 10.2, 11.7 และ 11.84 ตามลำดับ แต่สถิติระดับประเทศ พบว่าประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีมีสถิติการพลัดตกหกล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และประมาณร้อยละ 50 มักเกิดอุบัติการณ์ซ้ำ รัฐบาลต้องเสียงบประมาณค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก สาเหตุจากความเสื่อมในการทำหน้าที่ของร่างกายตามวัย หรือการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุความสามารถในการมองเห็นลดลง ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการสัมผัส ควบคุมการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายทำหน้าที่ผิดปกติ การได้รับยาที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ภาวะซึมเศร้า ภาวะเพ้อคลั่ง ความเครียด และความวิตกกังวล ความหวาดกลัวการพลัดตกหกล้ม เป็นต้น (Ignatavicius, 2553) ผู้สูงอายุหลายรายมีการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน การบาดเจ็บที่ศีรษะ รวมทั้งการหักของเชิงกราน ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลนานกว่าเดิมและบางรายเสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุวัยปลายมีอัตราการมีโรคประจำตัวสูงขึ้นตามวัยและยิ่งไปกว่านั้น ผู้สูงอายุเกินกว่า ร้อยละ 10 มีปัญหาการขึ้นลงบันได ปัญหาการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ สำหรับผู้สูงอายุวัยปลาย มีร้อยละ 4 ที่ต้องการคนคอยช่วยดูแล (Care Giver) แต่ไม่สามารถจะหาผู้ช่วยเหลือได้เมื่อมีอายุมากขึ้น การใช้ห้องนอน ห้องน้ำและห้องส้วม การมีกระดูกหักจากการหกล้มมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านอายุ เพศหญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี และภาวะผิดปกติของสายตา (ชูชาติ ขันตยาภรณ์, 2555) รวมทั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ปัจจัยเหล่านี้หากสามารถลดอุบัติการณ์ได้ เพียงแค่มีการป้องกันจะทำให้อัตราการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนลดลง และเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้ถูกคัดกรองหรือตรวจพบ และนำไปสู่การแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงการล้ม (Modifiable risk factors) เป้าหมายเพื่อผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ไม่หกล้ม กระดูกไม่หัก และเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทันเวลา ดังนั้น การหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งด้านจำนวนและอายุขัย กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะกระดูกหักจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและเพื่อให้การเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ลดอัตราเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นองค์รวมทั้งในภาวะ ปกติ หรือเจ็บป่วยภายใต้การดูแลของทีมสหวิชาชีพ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อลดอัตราเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 1 ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย (ที่ได้รับการประเมินความสามารถในการทรงตัว (TUGT) (จากโปรแกรม Smart Aging) ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงโดยใช้ Thai FRAT ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 |
20.00 | 0.00 |
2 | 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ได้รับการ ประเมินและพบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้ม ได้รับการดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพ 2 ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย (ที่ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงโดยใช้ Thai FRAT) ได้รับการพัฒนาและประเมินสมรรถนะ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 |
20.00 | 2.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 18,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1. พัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้กับแกนนำอสม. จำนวน 30 ราย เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการดูแลและการดูแลระบบพึ่งพิงแบบไร้รอยต่อ | 0 | 2,250.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 2.อบรมให้ความรู้และติดตามอาการผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามชุดโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะทางกายผู้สูงอายุ (Thai FRAT score 4 -11 คะแนน) ให้การบริการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยการพัฒนาสมรรถนะเดือน ละครั้ง ในระยะเวลา 5 ครั้ง จำนวน 30 ราย | 0 | 15,750.00 | - |
1 ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง เมื่อพบภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลรักษาสาเหตุ ตามมาตรฐาน 2 ผู้สูงอายุและผู้ดูแล ได้รับความรู้ในการดูแลและปรับสภาพแวดล้อมได้เหมาะสม 3 ไม่พบผู้สูงอายุเสียชีวิตจากภาวะพลัดตกหกล้ม และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลของครอบครัวและหน่วยบริการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 09:50 น.