กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test
รหัสโครงการ 68-L3031-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 24 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอานีซะห์ ราแดง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.666938,101.304261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 480 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 50 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit test
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colorectal cancer; CRC) ในประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงถือเป็นหนึ่งใน 5 ของมะเร็งที่พบมากที่สุด จากสถานการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา พฤติกรรมและวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางประเภทมากหรือน้อยเกินไป เช่น การบริโภคเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ และบริโภคอาหารที่มีกากใย น้อยลง (สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง ทั้งสิ้น การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในระยะเริ่มแรกที่นิยมปฏิบัติมีหลากหลายวิธี และในจำนวนการทดสอบ (test) ทั้งหมดการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง (Fecal immunochemical test) สามารถช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เนื่องจากมีการตรวจพบ ความผิดปกติของมะเร็งในระยะเริ่มต้นก่อน ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันก่อนพัฒนาไปสู่มะเร็งเต็มขั้น ยังมีวิธีการตรวจคัดกรองที่นิยมแพร่หลายคือการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ ลำไส้ ใหญ่/ไส้ตรง เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองที่ได้รับการยอมรับและมีความแม่นยำในการทำนายสูง และมะเร็ง สถานการณ์ความรุนแรงและแนวทางในการดูแลและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังที่กล่าวไว้ ข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอลำ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง โดยปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา จากการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ในตำบลเมาะมาวี จำนวน 2 ราย และได้ดำเนินการส่งต่อเพื่อส่องกล้อง และได้รับการผ่าตัดรักษาครบร้อยละ 100 จึงจำเป็นต้องดำเนินการคัดกรองอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ(Fecal immunochemical test) โดยมีเป้าหมายให้ประชากรกลุ่มอายุ 50-70 ปี เข้าถึงการตรวจคัดกรองอย่างน้อยร้อยละ 10 และถ้าผลการตรวจเป็นบวกจะทำการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมมะเร็งลำไส้ โดยให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกรวมถึงค้นหาติ่งเนื้อชนิด adenomatous polyp เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้องและทันท่วงที ลดอัตราการตายและการลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test)

ร้อยละ 50 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ

30.00 0.00
2 ประชาชนที่ได้ตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ผลเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)

ร้อยละ 50 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ผลเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)

30.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,450.00 0 0.00
22 เม.ย. 68 ประชุมเจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่าย เพื่อเตรียมความพร้อมและร่วมวางแผนสำรวจกลุ่มเป้าหมายอายุ 50-70 ปี 0 1,050.00 -
1 - 15 พ.ค. 68 จัดซื้อวัสดุ Fittest (Fecal immunochemical test) 0 7,500.00 -
1 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนและติดตามประเมินผล 0 3,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในระยะแรก รวมถึงค้นหาติ่งเนื้อชนิด adenomatous polyp เพื่อการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ลดอัตราการตายและการลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 00:00 น.