กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
รหัสโครงการ 68-L5214-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 42,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.163,100.542place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามสถานการณ์ในปัจจุบันตำบลเกาะยอ มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงการประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันตำบลเกาะยอมีการจัดตั้งร้านอาหาร ขนาดใหญ่พื้นที่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป จำนวน 26 ร้าน และร้านแผงลอย ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร จำนวน 39 ร้าน จำหน่ายอาหารไว้บริการ อาหารปรุงสำเร็จ แก่ประชาชนสะดวกต่อการเลือกซื้อเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือน หรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น การควบคุม ดูแลให้การประกอบกิจการ การจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสมเน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการ ร้านอาหาร และแผงลอย จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องดำเนินการ งานสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ ร่วมกับหน่วยงานศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสงขลา,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร จึงได้จัดทำ “โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร” ปีงบประมาณ 2568 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อติดตามกำกับ ดูแล สถานประกอบการและสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ความสะอาด และปลอดภัย ทำให้ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีและยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชีวิตปกติใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในพื้นที่ตำบลเกาะยอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้ในด้านการสุขาภิบาลอาหาร

26.00
2 เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานที่จำหน่ายอาหาร ภายใต้ชีวิตปกติใหม่ให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

ยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานที่จำหน่ายอาหาร ภายใต้ชีวิตปกติใหม่ให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

26.00
3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม

สร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม

26.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมที่ 1 สำรวจจำนวนร้านอาหารในพื้นที่(1 ก.พ. 2568-31 มี.ค. 2568) 0.00                
2 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ และสาธิต ให้ผู้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร(1 ก.พ. 2568-31 พ.ค. 2568) 0.00                
3 กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารและแผงลอย(1 มี.ค. 2568-31 พ.ค. 2568) 0.00                
รวม 0.00
1 กิจกรรมที่ 1 สำรวจจำนวนร้านอาหารในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ และสาธิต ให้ผู้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ตรวจร้านอาหารและแผงลอย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหาร 2.ร้านจำหน่ายอาหาร มีการพัฒนาปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐาน SAN & SAN Plus 3.ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 10:55 น.