โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ |
รหัสโครงการ | 68-L4150-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมรมรักสุขภาพตำบลยะหา |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮาบีเบาะ มะมิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต ฯลฯมีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ ชมรมรักสุขภาพตำบลยะหาได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน จึงจัดทำโครงการผลิตสมุนไพรเพื่อสุขภาพตำบลยะหา ปี 2567 ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 22,600.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1.อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ - การทำลูกประคบ - การนวดแผนไทย | 0 | 22,600.00 | - |
1.ประชาชนสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
2.ประชาชนสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เอง และจำหน่ายในชุมชนได้
3. ประชาชนมีความรู้เข้าใจและมีความพึ่งพอใจในการบริการแพทย์แผนไทย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 11:04 น.