กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กระบวนการค้นหาปัญหาในพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร่วมกับภาคีเครือข่าย อสม. ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา7 กันยายน 2560
7
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลลาโละ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นวางแผน(Plan) ๑.  ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒.  เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.  แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๔.  ประชุม/ประสาน  อสม.  แกนนำชุมชน  เพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒. จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กระบวนการค้นหาปัญหาในพื้นที่บ้านอีนอ
๓. วิเคราะห์สาเหตุ/แนวทางแก้ไขปัญหาโดยภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน ๔. ชุมชนร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไข้ปัญหา การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วย
๕. จัดทำคู่มือคู่ชีวิต พิชิตความดันเบาหวานสำหรับผู้ป่วย           ๖. จัดทำป้ายไวนิลย์บ้าน ๗ สี เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือด ๗. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ อสม.ครูพี่เลี้ยง เพื่อเป็นที่ปรึกษาและติดตามผู้ป่วย ๘. ผู้นำศาสนาให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยตามวิถีมุสลิมโดยยึดหลัก ๔อ. (อีหม่าน อีบาดะห์ เอียะซาน อิสตีกอมะห์) สู่การปฏิบัติตามหลัก ๓อ.๒ส. ๔อ.(อีหม่าน อีบาดะห์ เอียะซาน อิสตีกอมะห์)
อ.อีหม่าน(หลักการศรัทธา)
อ.อีบาดะห์ (การปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ได้ผลบุญและเพื่อสุขภาพ) อ.เอียะซาน (การวัดผล/ประเมินผล) อ.อิสตีกอมะห์(ความต่อเนื่อง) ๓อ.๒ส.(อาหาร  ออกกำลังกาย อารมณ์  สุรา  สูบบุหรี่) อาหาร(ควบคุมอาหารโดยการถือศิลอด ทุกวันจันทร์กับวันพฤหัสบดีตามแบบอย่างของท่าน ศาสดานบีมูฮำหมัด (ซล.) รับประทานอาหาร ๑ ส่วน น้ำ ๑ ส่วน  ว่าง ๑ ส่วน) อาหารต้องฮาลาลันและตอยยีบัน(อาหารที่ได้รับการอนุมัติจากอัลลอฮและอาหารที่รับประทานต้องมีประโยชน์ มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว) ออกกำลังกาย(ออกกำลังกายตามวิถีชีวิต สอดคล้องกับหลักอิสลาม) อารมณ์(อ่านอัลกุรอาน/กีรออาตี/บรรยายธรรม ) ๙.ดำเนินกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองในชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง โดยผู้ป่วยและชุมชนมีส่วนร่วมในการวัดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดกันเองโดยใช้บ้าน ๗ สี ตามหลักทฤษฏีปิงปอง ๗ สี พร้อมบันทึกข้อมูลลงในสมุดคู่มือ คู่ชีวิต พิชิตความดันเบาหวาน เพื่อให้ทราบระดับความรุนแรงของค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในแต่ละเดือน ทำให้ผู้ป่วยมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถควบคุมระดับความดันและเบาหวานให้ดีขึ้น

ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check)             ๑. ติดตามและประเมินผลการควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด   ๒.สรุปผลการดำเนินงาน

      ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒. จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กระบวนการค้นหาปัญหาในพื้นที่บ้านอีนอ
3.ตรวงสุขภาพเบื้องต้สให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสุงและโรคเบาหวานโดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีม อสม. ๔. วิเคราะห์สาเหตุ/แนวทางแก้ไขปัญหาโดยภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน ๕. ชุมชนร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไข้ปัญหา การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วย ๖. จัดทำคู่มือคู่ชีวิต พิชิตความดันเบาหวานสำหรับผู้ป่วย ๗. จัดทำป้ายไวนิลย์บ้าน ๗ สี เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือด ๘. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ อสม.ครูพี่เลี้ยง เพื่อเป็นที่ปรึกษาและติดตามผู้ป่วย ๙. ผู้นำศาสนาให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยตามวิถีมุสลิมโดยยึดหลัก ๔อ. (อีหม่าน อีบาดะห์ เอียะซาน อิสตีกอมะห์) สู่การปฏิบัติตามหลัก ๓อ.๒ส. ๙.ดำเนินกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองในชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง