โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L4129-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ |
วันที่อนุมัติ | 21 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 21,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไพสิฐ นรารักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.686,101.141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุ ตั้งแต่ 5 – 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกในชุมชน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (ข้อ 19) และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (ข้อ 4 และ ข้อ 6) เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพรระบาดของไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิด ร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
|
||
2 | 2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
|
||
3 | เพื่อสร้างกระแสความร่วมมือของประชาชนในชุมชน ในการรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก
๒. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชน
๓. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
๔. ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือในการรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 10:52 น.