โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2568 รพ.สต.บ้านกูบู
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2568 รพ.สต.บ้านกูบู |
รหัสโครงการ | 68-L2486-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 8,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวน้ำฝน พรหมน้อย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยอย่างรวดเร็วในปัจจุบันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมืองต่างมีความเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกกันว่า โรควิถีชีวิต(LifestyleDiseases) เช่น การเร่งรีบกับการทำงานการบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายมีภาวะเครียดจากปัญหาต่างๆที่รุมเร้าทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายการรับประทานอาหารภาวะทางด้านอารมณ์การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้เหมาะสม
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง(CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (CVD) เป็นต้น
จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ ปี 2567 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ 95.14พบประชากรกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 24.28 จากการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมภาวะสุขภาพได้ดีขึ้น ร้อยละ 4.19พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 1.67 ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบูจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปี 2566 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตสูง มีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส.และไม่เกิดกลุ่มป่วยและให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะป่วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตมีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส.และไม่เกิดกลุ่มป่วย 1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมี ความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค 2.กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตมีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส.และไม่เกิดกลุ่มป่วย |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมี ความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | 1.จัดกิจกรรมมหกรรมเพื่อกระตุ้นให้เจ้าของสุขภาพ ญาติ ภาคีสุขภาพในชุมชนร่วมกันในการดูแลสุขภาวะชุมชน | 8,100.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ 2.อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 00:00 น.