กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2568
รหัสโครงการ 2568 - L3309 - 2 - 16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหวัง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจีราภรณ์ เหมริหนี ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหวัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 และ 4 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต รวมทั้งมีโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมและโรคติดต่ออื่นๆที่ยังพบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น โรคฉี่หนู และมือเท้าปาก สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยาย้อนหลัง 5 ปี ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง พบว่า ในปี พ.ศ. 2563-2567 มีอัตราป่วยด้วย โรคไข้เลือดออก217.39, 0,0 , 53.97 และ 169.40 ต่อแสนประชากร ตามลำดับโดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง ในปี 2563 มีอัตราป่วยสูงที่สุด ทั้งนี้พบว่าโรคติดต่ออื่นๆที่เกิดขึ้นบ่อยในชุมชน และต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง จึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค และปัจจัยสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ คือ การได้รับความรู้อย่างทั่วถึง การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนซึ่งการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ และชุมชนในการดำเนินงาน รวมทั้งสร้างความตระหนักและมีการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อในชุมชนต่อไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชน จะต้องดำเนินการจากต้นเหตุ คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรค ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง จึงมีแนวคิดที่จะดำเนินงานเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชนให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน และ ทุกหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ปีงบประมาณ 2568 ทั้งนี้เพื่อสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่พบในชุมชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อที่พบในชุมชน

ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อ ร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด

80.00 60.00
2 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI HI) ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยของโรคไข้เลือดออก

ความชุกของลูกน้ำยุงลาย ค่า CI = 0 ,HI ≤ 10

50.00 50.00
3 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินเกณฑ์ตามกำหนด

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

80.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 พ่นหมอกควันป้องกันการเกิดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 2,400.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 พ่นหมอกควันกรณีเกิดโรคในชุมชน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 0 2,000.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมรณรงค์ Big Cieaning Day 0 2,000.00 -
1 - 30 เม.ย. 68 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ 0 1,200.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 การตรวจประเมินลูกน้ำยุงลาย HI ,CI ทุกสัปดาห์ โดย อสม. 0 7,000.00 -
รวม 0 14,600.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน -ความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI HI) ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด -อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก = 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 00:00 น.