กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ นักเรียนยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ ป้องกันโรคติดต่อ (โรคหิคเหา)ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 01-L8283-61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 ธันวาคม 2017 -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารยา อับดอลลา
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกีเวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ธ.ค. 2017 21 ธ.ค. 2017 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเหาในเด็กวัยเรียนในประเทศไทยในขณะนี้ถือว่ายังเป็นปัญหาโดยเฉพาะเด็กวัยประถม เพราะเป็นวัยที่เด็กเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันมากที่สุด ดังนั้นเมื่อมีเด็กคนหนึ่งคนใดเป็นเหาก็มักจะทำให้เด็กทั้งกลุ่มเป็นเหากันหมด เด็กที่เป็นเหาจะมีอาการคันศีรษะ และเมื่อเกามากๆ จะทำให้เกิดแผลและอาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้ และอาจลุกลามทำให้มีต่อมน้ำเหลืองหลังหูท้ายทอย หรือที่คอโต นอกจากนี้บางรายที่ติดเชื้อเหารุนแรง อาจพบเป็นแผลแฉะ มีสะเก็ดกรังบริเวณศีรษะ อาการดังกล่าวจะรบกวนเด็กเวลานอนและทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน ยากำจัดเหามีหลายชนิดดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ”
โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในเด็กนักเรียน ระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง และเป็นโรคเหาที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป และยังทำให้สุขภาพไม่ดี และก่อความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นอีกเนื่องจากมีอาการคันศีรษะ และการรักษาโรคเหาสมัยนี้ ส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมีซึ่งเมื่อใช้แล้วอาจก่อให้เกิดแนวความคิดว่าถ้านำเอาเมล็ดและใบน้อยหน่า มาสกัดเอาสารและผสมกับน้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นการปรับปรุงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผู้จัดทำได้รับประสบการณ์มา คือ ย่าของผู้จัดทำได้ใช้น้ำมันก๊าด เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อศีรษะและสุขภาพ จึงคิดใช้น้ำมันมะกอกแทน เพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาให้กับนักเรียนหญิง ที่เป็นโรคเหา ซึ่งรักษาโรคเหาได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และร่างกาย อีกทั้งเป็นการนำสมุนไพรธรรมชาติ ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์อีกด้วย ในฐานะกรรมการผู้ปกครองนักเรียนเล็งเห็นความสำคัญถึงปัญหาของเด็กนักเรียนใน โรงเรียน จึงได้จัด “ โครงการ นักเรียนยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ ป้องกันโรคติดต่อ ”ดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาวิธีการกำจัดเหา โดยใช้การมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองของนักเรียน ในกิจกรรม

 

2 เพื่อลดจำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหาลง

 

3 เพื่อนำสมุนไพรธรรมชาติใกล้ตัวมาปรับปรุงใช้ประโยชน์และเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๔.๑ เสนอโครงการเพื่อขอการเห็นชอบอนุมัติจากคณะกรรมกองทุน ฯ ๔.๒ ติดต่อประสานงานวิทยากร กลุ่มเป้าหมาย ในโรงเรียนวัดมุจลินท์ฯ
วิธีดำเนินการ แบ่งเป็น ๒ กิจกรรมหลัก ประกอบด้วยขั้นตอนดำเนินการในแต่ละกิจกรรม ดังนี้ ๔.๓ กิจกรรมการอบรมการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการผลิตน้ำยาฆ่าเหา โดยวิทยากร ๔.๔ ดำเนินการตรวจสุขภาพนักเรียน โดยจนท.จาก รพ.หนองจิก
๔.๕ กิจกรรมปฏิบัติการฆ่าเหา ให้นักเรียนหญิงโดยครูและผู้ปกครอง ๔.๖ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๐.๑ เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองของนักเรียน ในกิจกรรม ปฏิบัติการฆ่าเหา ๑๐.๒ จำนวนนักเรียนหญิงที่เป็นเหามีจำนวนลดลง
๑๐.๓ เพื่อนำสมุนไพรธรรมชาติใกล้ตัวมาปรับปรุงใช้ประโยชน์และเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
¬๑๐.๔ ลดการแพร่ระบาดของเหาในเด็กวัยเรียนในโรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2018 10:05 น.