โครงการหนูน้อยสมส่วน โภชนาการสมวัย สดใสแข็งแรงในเด็ก 0-5ปี ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสมส่วน โภชนาการสมวัย สดใสแข็งแรงในเด็ก 0-5ปี ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68 – L8423 – 2 - 04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 32,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุลัยมาน เจ๊ะมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.277,101.691place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ภาวะโภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยและส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
เป็นรากฐานสำคัญตลอดชีวิต เป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็กต่อการพัฒนาเด็กให้เติบโต เต็มศักยภาพ มีสุขภาพที่ดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝน ทักษะ สะสม ประสบการณ์เพื่อเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนถึง 5 ปี เนื่องจากมีการเจริญเติบโตด้านสมองและร่างกายอย่างรวดเร็ว (Rosales,Reznick&Ziesel,2009) หากเด็กขาดสารอาหารจะส่งผลโดยตรงกับพัฒนาการด้านสมองและ โครงสร้างของร่างกาย ทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตไม่สมวัย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ภูมิต้านทาน ในร่างกายของเด็กลดลงส่งผลให้เจ็บปุวยบ่อย (ลัดดา เหมาะสุวรรณ,2552) จากข้อมูลปัญหาภาวะทุพ โภชนาการของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยพบว่าสถานการณ์เด็กอายุ 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ระดับประเทศ มีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 - 2563 คือ ร้อยละ 48.6, 56.8 และ 63.1 ตามลำดับ และใน ปีงบประมาณ 2564 - 2565 มีแนวโน้มลดลง คือลดลงจาก ร้อยละ 63.1 ใน ปีงบประมาณ 2563 เป็น ร้อยละ 61.8 และ 59.1 ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ตามลำดับ (รายงานประจำปีเฝ้าระวังภาวะ โภชนาการ,สำนักโภชนาการ กรมอนามัย,2565) จากข้อมูลปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กปฐมวัยใน เขตสุขภาพที่ 12 พบว่าสถานการณ์เด็กอายุ 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ระดับเขตสุขภาพที่ 12 มีแนวโน้มดี ขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 - 2563 คือ ร้อยละ 49.2, 55.8 และ 60.4 ตามลำดับ และใน ปีงบประมาณ 2564 - 2565 มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 59.5 และ 59.7 ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ตามลำดับ (รายงานประจำปีเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ,สำนักโภชนาการ กรมอนามัย,2565) ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาของภาวะทุพโภชนาการของเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
ปี 2567 ที่ผ่านมาสถานการณ์เด็กอายุ 0 - 5 ปีของพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลบ้านเจ๊ะเก 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 – 2567 พบว่าสูงดีสมส่วน อยู่ที่ร้อยละ 57.48,59.69 และ 61.25 ตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพที่ยังเป็นปัญหาของภาวะทุพโภชนาการของเด็ก 0-5 ปี(ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดเด็กปฐมวัยปี68 ต้องได้ ร้อยละ 70) ในพื้นที่ที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
ในการนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึง
ความสำคัญของโครงการ “โครงการหนูน้อยสมส่วน โภชนาการสมวัย สดใสแข็งแรงในเด็ก 0-5ปี ประจำปี 2568” เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องภาวะทุพโภชนาการของเด็ก ตลอดจนพัฒนากลไกของการดูแลสุขภาพในวัยเด็ก 0-5 ปี ในชุมชน ให้ชุมชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเด็กในทุกมิติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | . ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลโภชนาการที่เหมาะสมในเด็ก (0-5 ปี) และมีความตระหนัก ตื่นตัวในการส่งเสริมให้มีการดูแลกลุ่มวัยเด็กให้มีประสิทธิภาพ
|
||
2 | หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ ความตื่นตัว ตระหนักและมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมดูแล ส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมภาวะโภชนการ ในเด็กที่กำลังจะเกิด และเด็กที่อยู่ในความดูแล (0-5 ปี)
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : . ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลโภชนาการที่เหมาะสมในเด็ก (0-5 ปี) และมีความตระหนัก ตื่นตัวในการส่งเสริมให้มีการดูแลกลุ่มวัยเด็กให้มีประสิทธิภาพ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ ความตื่นตัว ตระหนักและมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมดูแล ส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมภาวะโภชนการ ในเด็กที่กำลังจะเกิด และเด็กที่อยู่ในความดูแล (0-5 ปี) |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลโภชนาการที่เหมาะสมในเด็ก (0-5 ปี) และมี ความตระหนัก ตื่นตัวในการส่งเสริมให้มีการดูแลกลุ่มวัยเด็กให้มีประสิทธิภาพ
- หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ ความตื่นตัว ตระหนักและมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมดูแล
ส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมภาวะโภชนการ ในเด็กที่กำลังจะเกิด และเด็กที่อยู่ในความดูแล (0-5 ปี)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 11:59 น.