โครงการกำจัดตัวอ่อน ทำลายตัวแก่ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการกำจัดตัวอ่อน ทำลายตัวแก่ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L8423 – 2 -05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 29,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรูซนา เจ๊ะฮะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.277,101.691place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหาเกือบทุกปี จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้โรคไข้เลือดออกเริ่มระบาดหนักในทุกพื้นที่อันเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆที่เอื้อผลต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศฝนตกตลอดทั้งปีเอื้อหนุนต่อการเกิดน้ำขังตามภาชนะต่างๆเป็นแหล่งวางไข่ของยุงลาย ตามปริมาณของยุงลายที่เพิ่มประชากรในทุกขณะ ซึ่งหมายถึง Agent ที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับ Environment ที่เอื้อต่อการเกิดโรค ประจวบเหมาะกับ Host ที่ร่างกายอ่อนแอไปทุกวัน ขาดการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค การขาดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เหมือนกับเป็นวงจรที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น และยากต่อการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งนี้ความสูญเสียจากโรคไข้เลือกออกมีความรุนแรงตามพยาธิสภาพของโรคที่อาจเกิดภาวะช็อกและถึงแก่ชีวิตได้
หากยิ่งขาดความตระหนัก ขาดการควบคุม ดูแลหรือการเร่งรัดมาตรการป้องกันอาจจะเกิดการสูญเสียมากขึ้น อัตราป่วยและอัตราตายก็จะเพิ่มมากขึ้นตามกัน
ประชาชนในพื้นที่ตำบลบาโงสะโต ประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกทุกปีโดยพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตามรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ๕ ปีย้อนหลัง ดังนี้ พบว่าปี ๒๕๖๒ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๔๘๗.๐๘ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๓ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑๑๙.๒๘ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๔ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒๔.๖๙ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๕ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑๑๓.๑๒ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๖ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๖๗.๘๗ ต่อแสนประชากร และในปี ๒๕๖๗ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒๔๘.๘๗ ต่อแสนประชากร ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง ๕ ปีถ้าวัดตามแนวโน้มและลักษณะการระบาดของโรคทุกปี และอัตราการเกิดโรคในแต่ละปี เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากรซึ่งไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวนี้ทางอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๗ จึงได้จัดทำ โครงการกำจัดตัวอ่อน ทำลายตัวแก่ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก เพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
|
||
2 | เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สามารถควบคุมดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่า BI < ๕๐,HI < ๑๐,CI = ๐) โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
|
||
3 | เพื่อสร้างความตระหนักและปลุกกระแสให้ประชาชนในพื้นที่ทุกคนตื่นตัว
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สามารถควบคุมดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่า BI < ๕๐,HI < ๑๐,CI = ๐) โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อสร้างความตระหนักและปลุกกระแสให้ประชาชนในพื้นที่ทุกคนตื่นตัว |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๒. อสม.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ชุมชนได้ ๓. ประชาชนมีการพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 13:06 น.