โครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลตันหยงจึงงาประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลตันหยงจึงงาประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68 – L3044 -2-010 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงจึงงา |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,060.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฮากีมะห์ สือนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.781,101.439place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 91 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นเป้าหมายหลักของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการวางกำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคโดยเน้นการดำเนินการในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆเป็นเขตปลอดยุงลาย รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป โรคไข้เลือดออกใน ตำบลตันหยงจึงงา ต้นปี พ.ศ. 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 7 รายซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี พบว่า ปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 21 ราย จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเช่นกัน จะเห็นได้ว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา จึงได้จัดทำโครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก เพื่อจัดอบรม สัมมนาให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ เผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจจะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ร้อยละ 95 ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ |
||
2 | เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความอันตรายของโรคไข้เลือดออก รู้จักวิธีการดูแลตนเองและคนใกล้เคียงไม่ให้เป็นโรค ร้อยละ 90 ประชาชนได้ตระหนักถึงความอันตรายของโรคไข้เลือดออก รู้จักวิธีการดูแลตนเองและคนใกล้เคียงไม่ให้เป็นโรค |
||
3 | เพื่อพัฒนาทักษะ อสม. และเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก สามารถช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 100 อสม. และเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก สามารถช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความอันตรายของโรคไข้เลือดออก รู้จักวิธีการดูแลตนเองและคนใกล้เคียงไม่ให้เป็นโรค |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อพัฒนาทักษะ อสม. และเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก สามารถช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 คน | 0.00 | 7,950.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 21 คน และนักเรียน หมู่ละ 10 คน รวม 41 คน | 0.00 | 15,480.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามและประเมินผล สุ่มลงเยี่ยมบ้านเพื่อตรวจดูแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(ละแวกอสม.ที่รับผิดชอบ) และรายงานผลในการประชุมประจำเดือนของอสม. | 0.00 | 630.00 | - | ||
20 ก.พ. 68 | กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 21 คน และนักเรียน หมู่ละ 10 คน รวม 41 คน | 41.00 | 15,480.00 | - | ||
20 ก.พ. 68 | ติดตามและประเมินผล สุ่มลงเยี่ยมบ้านเพื่อตรวจดูแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(ละแวกอสม.ที่รับผิดชอบ) และรายงานผลในการประชุมประจำเดือนของอสม. | 21.00 | 630.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 คน | 50.00 | 7,950.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.ลดพื้นที่ที่เป็นรังโรคหรือแหล่งเพาะพันธ์ุแมลงที่พาหะ 2.ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และไม่เกิดการเจ็บป่วย 4.เกิดข้อตกลงของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 20:55 น.