โครงการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลคลองใหม่ ปี 2568 โดยชุมชนมีส่วนร่วม
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลคลองใหม่ ปี 2568 โดยชุมชนมีส่วนร่วม |
รหัสโครงการ | 68-L3028-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 20 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายซาการียา มะบากอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.735,101.262place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ปัจจุบันประชาชนไทยมีอายุยืนขึ้น ผลจากการที่มีอายุมากขึ้นย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ เนื่องจากความชราระบบอวัยวะต่างๆ จะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้อุบัติการณ์ของโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บ | 0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประชาชนไทยมีอายุยืนขึ้น ผลจากการที่มีอายุมากขึ้นย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ เนื่องจากความชราระบบอวัยวะต่างๆ จะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้อุบัติการณ์ของโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย และด้านจิตใจ นำไปสู่ปัญหาทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นระยะ รวมทั้งการให้ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุเฝ้าระวังในการดูแลสุขภาพของตนเอง ผู้สูงอายุหลายคน เมื่อไปพบแพทย์ มักจะมีความคาดหวังว่าแพทย์ต้องให้การ รักษา หรือให้ยาที่จะทำให้หายจากโรคต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด แต่ใน ความเป็นจริงการป้องกันหรือรักษาอาการป่วยต่างๆ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญคือการดูแลตนเองก่อนที่โรคเหล่านั้นจะพัฒนาไปถึงขั้นที่รักษาไม่หาย หลายโรคในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อน เกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดัน โรคข้อเข่าต่างๆ เป็นต้น สำหรับการหกล้มในผู้สูงอายุ หากเกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะพิการ และเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ไม่ว่า จะเป็นสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ดังนั้นการให้ข้อมูลความรู้เรื่องการหกล้มในผู้สูงอายุ มีความจำเป็น การประเมินความเสี่ยงการหกล้มด้วยตนเอง หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะมาช่วย ป้องกันการหกล้ม การออกกำลังกายที่เหมาะสมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งมีวิธีออกกำลังกายง่ายๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน หรือทำเป็นกลุ่ม รวมทั้งหากผู้สูงอายุเกิดหกล้ม จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือ ได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี รับผิดชอบดูแลประชากรในพื้นที่ ๖หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุจำนวน ๕๒๘ คน ซึ่งได้แก่ กลุ่มติดสังคมจำนวน ๔๙๒ คน กลุ่มติดบ้านจำนวน ๒๔ คน และไม่ระบุกลุ่มจำนวน ๕ คน ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือ ภาระโดยรวมของวัยทำงานที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลในการที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยบั้นปลายชีวิต ภาวะสุขภาพอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย มีความเสื่อมถอยของอวัยวะต่างๆที่เริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ การเคลื่อนไหว อันเนื่องมาจากการเสื่อมของข้อหรือสมรรถภาพทางกายลดลง เพื่อเป็นการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายลดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะโรคและควบคุมให้ภาวะโรคเหล่านั้นอาการคงที่ โดยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของการล้มและสมรรถภาพทางกาย
|
||
2 | ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง สามารถปฏิบัติตัวในเรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
|
||
3 | ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการออกกำลังกายบริหารข้อเข่าและหลังอย่างถูกต้อง
|
||
4 | ๔. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสภาวะทางร่างกาย ได้รับการติดตาม ประเมินภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
21 ก.พ. 68 - 21 ส.ค. 68 | 1. ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันข้อเสื่อม เป็นเวลา ๖ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท ๑ ท่าน | 0 | 3,600.00 | - | ||
21 ก.พ. 68 | 2. ค่าจ้างเหมาทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด ๒ x ๑.๒ เมตร จำนวน ๑ ป้าย | 0 | 600.00 | - | ||
21 ก.พ. 68 - 21 ส.ค. 68 | 1. ค่าถุงประคบร้อน จำนวน ๑๐ ชิ้น x ๗๕ บาท | 0 | 750.00 | - | ||
21 ก.พ. 68 - 21 ส.ค. 68 | 3. ค่าแผ่นพับให้ความรู้ - การออกกำลังกายบริหารข้อเข่าและหลัง ๑๒๐ แผ่น | 0 | 1,000.00 | - | ||
21 ก.พ. 68 - 21 ส.ค. 68 | 4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๔๕ คน x ๖๐ บาท ๑ วัน | 0 | 2,700.00 | - | ||
21 ก.พ. 68 - 21 ส.ค. 68 | 5. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๔๕ คน x ๓๐ บาท ๑ วัน | 0 | 1,350.00 | - | ||
รวม | 0 | 10,000.00 | 0 | 0.00 |
ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลทางด้านสมรรถภาพทางกายและความเสี่ยงในการหกล้ม มีจำนวนลดลง
๒. ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะเสื่อมของข้อ ๓. ร้อยละ ๘๐ กลุ่มผู้สูงอายุออกกำลังกายบริหารข้อเข่าและหลังอย่างถูกต้อง
๔. เกิดรูปแบบการดูแลตนเองของคนในชุมชน โดยวิถีชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 10:07 น.